Content Layouts

(5) ถวายตัวเป็นศิษย์หลวงปู่มั่น พ.ศ.๒๔๘๗

ในระหว่างที่หลวงปู่สมชาย ฐิตวิริโย บวชเป็นสามเณรอยู่ที่วัดป่าศรีไพรวัลย์นั้น ท่านก็ได้ ยินกิตติศัพท์ว่า หลวงปู่มั่น ภูริทัตตเถร เป็น พระอรหันต์ ผู้หมดจดจากกิเลส จึงทำให้หลวงปู่สมชาย ฐิตวิริโย มีความปีติยินดีเป็นอย่างยิ่ง ใคร่ที่จะได้เห็นพระอรหันต์ในสมัยปัจจุบัน

ดังนั้นเมื่อออกจากพรรษาแล้ว จึงได้กราบลาท่านพระอาจารย์เพ็ง พุทธธัมโม ผู้เป็นเจ้าอาวาส พร้อมด้วยคณะรวม ๕ รูป ออกเดินทางมุ่งหน้าสู่สำนักหลวงปู่มั่น ในระหว่างทางที่ผ่านไป ท่านก็ได้แวะเยี่ยมชมและศึกษาข้อวัตรปฏิบัติตามสำนักต่างๆ เรื่อยไป เช่น

สานักของ ท่านพระอาจารย์แดง วัดป่าสักวัน อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ สำนักของ ท่านพระอาจารย์สอน วัดภูค้อ เป็นลำดับไป จนถึงเขตสาขาสานักหลวงปู่มั่น คีอ สำนักของ ท่านพระอาจารย์กู่ ธัมมทินโน วัดป่าบ้านโคกมะนาว ซึ่งเป็นสำนักหน้าด่านตั้งอยู่รอบนอก


ตามปกติแล้ว ผู้ที่จะเข้าไปสู่สานักของหลวงปู่มั่น จะต้องผ่านการฝึกฝนอบรมจิตใจ และฝึกมารยาทให้เรียบร้อยดีเสียก่อน จึงจะปล่อยให้เข้าไปได้ สำหรับหลวงปู่สมชาย ฐิตวิริโย ก็อยู่ในฐานะเช่นนั้นเหมีอนกัน เมื่อได้อยู่ฝึกฝนอบรมจิตใจและฝึกมารยาทพอสมควรแล้ว หลวงปู่พร้อมด้วยคณะ ซึ่งมีรายนามดังต่อไปนี้คือ

๑. ท่านพระอาจารย์ประสบ
๒. หลวงปู่สุวัจน์ สุวโจ
๓. ท่านพระอาจารย์ อินตา
๔. หลวงปู่ป่อง จนทสาโร
๕ หลวงป่สมชาย ฐิตวิริโย (สมัยนั้นยังเป็นสามเณร)


ทั้งหมดได้พากันเข้าไปมอบกายถวายตัวเป็นลูกศิษย์ หลวงปู่มั่น ภูริทตตเถร เมี่อปลายปี พ.ศ. ๒๔๘๗ ที่วัดป่า บ้านหนองผือ ตำบลนาในอำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร ในขณะนั้น หลวงปู่สมชาย ฐิตวิริโย ยังเป็นสามเณร ในลำดับ แรกเมี่อได้เข้าไปถึงสำนักหล่วงปู่มั่น ก็ได้เห็นความสะอาดสะอ้านภายในบริเวณวัดตลอดถนนหนทาง และสถานที่อยู่ของผู้ปฏิบัติธรรมทุกแห่งมีแต่ความร่มรื่นสวยงามตามธรรมชาติ ซึ่งเป็นบรรยากาศที่ชวนให้อยากภาวนา ดูประหนึ่งว่าจิตใจเริ่ม เป็นสมาธิตั้งแต่ยังไม่ได้ลงมีอปฏิบัติ


นอกเหนือไปกว่านั้น ก็ได้ เห็นความเป็นระเบียบเรียบร้อย และมารยาทอันสวยงามของ หลวงปู่มั่น ทีได้เมตตาออกมาให้การปฏิสันถารต้อนรับ จึงยัง ความปลื้มปีติยินดีความอิ่มเอิบให้เกิดขึ้นอย่างแปลกประหลาด และไม่เคยได้รับมาก่อนจากสำนักใดๆ ที่ได้เคยผ่านมา จึงนับว่า วันนั้นเป็นวันปฐมฤกษ์แห่งความเป็นอุดมมงคลในชีวิตนี้ที่จะ ลืมลงไม่ได้เป็นอันขาด

ในระหว่างที่ท่านได้พักอาศยเพี่อตกษาธรรมปฏิบัติอยู่กับหลวงปู่มั่น ภูริทตตเถร นั้น ท่านก็ได้ใช้ความเพียร พยายามเป็นอย่างยิ่งต่อการปฏิบัติสมาธิจิต เพื่อพิสูจน์ความจริงทางพระศาสนา และท่านได้ขยันหมั่นเพียรอย่างยิ่งยวดต่อข้อวัตรปฏิบัติน้อยใหญ่ทั้งปวง โดยไม่เห็นแก่ความเหน็ดเหนี่อย

การอุปถัมภ์อุปัฏฐากครูบาอาจารย์ก็เป็นไปด้วยดี สม่ำเสมอไม่บกพร่อง ตอนกลางวันนั้นท่านไม่เคยพักผ่อนหรีอจำวัดเลยเว้นเฉยแต่อาพาธเท่านั้น เพราะกลัวเวลาไม่พอทีจะประกอบความเพียร และไม่พอที่จะศึกษาค้นคว้าธรรมะ