พระวิสุทธิญาณเถร (25) บำเพ็ญธรรมที่ถ้ำพระภูวัว

(25) บำเพ็ญธรรมที่ถ้ำพระภูวัว

หลวงปู่สมชาย ฐิตวิริโย ท่านมักจะเล่าถวายพระเณรฟังอยู่เสมอๆ ว่า ภูวัวเป็นสถานที่ ท่านได้รับธรรมะมากที่สุดอีกแห่งหนึ่ง ภูวัวเป็นสถานที่มีความสงบวิเวก อากาศดี น้ำอุดมสมบูรณ์ สถานที่จะหลบบำเพ็ญก็มีหลายแห่ง แต่สถานที่ สำหรับโคจรบิณฑบาvานันออกจะลำบากไปสักหน่อย เพราะว่าหมู่บ้านอยู่ห่างไกลมากถึง ๗ กม. ทางเข้าออกก็ลำบาก สัตว์ร้ายก็ชุกชุมมาก

ถ้าจะไปอยู่ที่นั้นต้องอุทิศชีวิตเพื่อพระศาสนา กันเลยทีเดียว พระภิกษุสามเณรทุกองค์เมี่อได้ยินได้ฟังแล้วก็มี แต่ความกระสันอยากจะสัมผัสกับสถานที่แห่งนี้กันทุกองค์ อยากจะบำเพ็ญภาวนาตั้งแต่ยังไม่เห็นสถานที่กันเลย และทุก องค์ก็พร้อมที่จะอุทิศชีวิตเพื่อปฏิบัติบูชา เหมือนอย่างหลวงปู่ได้เล่าให้ฟัง เมื่อเห็นว่าพระเณรอยากไปภูวัวกันทุกองค์ ไม่มีองค์ไหนที่ไม่อยากไป

ภายหลังจากอำลาญาติโยมเสร็จเรียบร้อยแล้ว พระภิกษุสามเณรก็ได้จัดเตรียมสมณบริขารเท่าที่ จำเป็นเพี่อออกเดินทางมุ่งหน้าไปภูวัว หาสถานที่บำเพ็ญต่อไปในครั้งนี้ อาจารย์เชวง และคุณนายทองพูน ศิริรัตน์ พร้อมทั้งญาติโยมชาวบ้านจำนวนมากได้ติดตามไปส่งถึงท่าเรือ

ในครั้งนี้ หลวงปู่ได้นำพาหมู่คณะเดินทางโดยทางเรือ ผ่านมาทางอำเภอศรีสงคราม ถึงอำเภอบ้านแพง เวลาบ่าย ๕ โมงเย็นพอดี จึงได้เข้าไปพักที่ป่าช้าริมทางอำเภอบ้านแพง พอไปถึงไม่ทราบว่า ญาติโยมมาจากไหนกันมากมายมาต้อนรับพูดคุยสนทนาเป็นกันเองดีมาก ต่อจากนั้นหลวงปู่จึงได้ให้พระเณรแยกย้ายกันหาที่พักในป่าช้าบ้านแพงนั้น พักอยู่ ๑ คืน

รุ่งเช้าออกบิณฑบาตฉันจังหันเสร็จเรียบร้อยแล้วก็อำลาญาติโยมออกเดินทางต่อ และตั้งใจว่าจะเดินทางให้ถึงภูวัวในวันนี้ ได้เดินทางกันตลอดทั้งวันแทบไม่ได้พักกันเลย จนกระทั่งเวลาเย็นมากแล้วก็มาถึงบ้านโพธิ์หมากแข้ง ซึ่งอยู่ใกล้ๆ กับภูลังกา พักอยู่ที่นี้ ๑ คืน รุ่งเช้า เสร็จภัตกิจแล้วก็ออกเดินทางต่อหลวงปู่ได้พาเดินไปตามโขงหลงแล้วก็ผ่านมาถึงบ้านต้อง บ้านดอนเสียด ได้ม ญาติโยมออกมา ให้การต้อนรับและติดตามไปส่งถึงภูวัว ท่านตั้งใจว่าจะไปปักหลักบำเพ็ญทางด้าน ถ้ำพระ



ถึงถ้ำพระแล้วก็แยกย้ายกันออกหาสถานที่กางกลด โดยไม่ให้อยู่รวมกันเป็นกลุ่ม ให้มุ่งภาวนากันจริงๆ จะมารวม กันได้ก็ตอนเช้าเวลาฉันจังหัน เวลาเดียวเท่านั้น สำหรับเรี่อง อาหารการขบฉันนั้นก็ได้มีญาติโยมชาวบ้านนำข้าวสารขึ้นมาไว้ให้สามเณรเป็นผู้เก็บรักษาไว้ และสามเณรนั้นก็มีหน้าที่ในการจัดจังหันเพี่อถวายในตอนเช้าเป็นประจำทุกวัน

เว้นไว้แต่ วันไหนที่มีญาติโยมขึ้นมาบำเพ็ญด้วยก็เป็นหน้าที่ของญาติโยมเป็นผู้จัดทำ ส่วนกับข้าวนั้นก็มีเกลือและพริกแห้งเป็นอาหารหลักประจำวัน บางวันสามเณรก็ต้องจัดหาอาหารเสริม ได้แก่ ข่าป่า หวายอ่อน หรือผักหนาม ซึ่งเป็นอาหารประเภทผักป่า ซึ่งพอหาได้บนภูวัวนั้น แล้วนำมาต้มรวมกันกับข้าว ส่วนวิธี หุงข้าวต้มผักนั้น สามเณรจะต้องใช้ข้าวเพียงวันละหนึ่งแก้วต่อพระเณร ๘-๑๐ องค์ แล้วก็ใส่ผักหนาม หัวข่าป่า หรือ หวายอ่อนมากๆ หน่อย

ถ้าใช้ข้าวสารเกินกว่าหนึ่งแก้วแล้ว ข้าวสารจะหมดก่อนกำหนด คือ ๑๕ วัน ชาวบ้านจะนำข้าวสารขึ้นมาส่งครั้งหนึ่งเท่านั้น เมื่อสามเณรหุงหาเสร็จเรียบร้อยแล้วก็ตีระฆังให้สัญญาณนิมนต์พระที่ท่านภาวนาอยู่ตามสถานที่ต่างๆ ให้มารวมพร้อมกันเพื่อฉันจังหัน


ในครั้งนี้ได้บำเพ็ญอยู่ที่ภูวัว ประมาณ ๓ เดีอน ตลอดระยะเวลา ๓ เดือน ชาวบ้านก็ได้นำข้าวสาร พริกแห้ง เกลือมาส่งทุกๆ ๑๕ วันต่อ ๑ ครั้ง ครั้งหนึ่งจะได้ข้าวสารประมาณครึ่งถัง จะให้ดีหรือมากไปกว่านี้ก็ไม่ได้เพราะความยากจนของครอบครัว แต่ทุกคนก็ทำด้วยความเลื่อมใสศรัทธาอย่างจริงจัง และอีก อย่างหนึ่งถนนหนทางที่จะนำมาของขึ้นไปส่งก็ลำบากมากและเสี่ยงอันตรายนานาชนิด

ผู้ที่จะนำเสบียงไปส่งจะต้องเป็นชายวัยฉกรรจ์ และต้องมีความชำนาญป่าจริงๆ ทางขึ้นภูวัวสมัย นั้นก็ไม่เหมือนสมัยนี้ต้องปีนป่ายเถาวัลย์ไต่ขึ้นไปตามหน้าผาที่สูงชัน โดยเอาเสบียงทั้งหมดมัดติดกับหลังไม่ให้หลุด ถ้าหากพลาดท่าเสียทีก็หมายถึงชีวิตกันเลยทีเดียว ถ้าไม่มีความเลี่อมใสศรัทธาหรีอมีความทรหดอดทนจริงๆ จะทำไม่ได้เลย

การ บำเพ็ญภาวนาของพระภิกษุสามเณรก็รู้สึกว่าจะเป็นไปได้ดีมาก ทุกท่านทุกองค์ตั้งหน้าตั้งตาประพฤติปฏิบัติอย่างเอาจริงเอาจัง ทั้งกลางวันและกลางคืนแทบจะไม่ต้องพักผ่อนกันเลยทีเดียว แต่พอมานึกถึงความลำบากของญาติโยมที่จะต้องคอยส่ง เสบียงแล้วก็เห็นใจและสงสารญาติโยมชาวบ้าน ในครั้งนี้จึงอยู่ ได้ประมาณ ๓ เดีอนจึงได้ลงจากภูวัว


หลวงปู่สมชาย ฐิตวิริโย ได้นำพาหมู่คณะลงมาจากภูวัวแล้ว ก็ได้นำพาไปกราบคารวะ หลวงปู่ฝั้น อาจาโร ที่วัดป่าอุดมสมพร แต่ไปไม่พบ ทราบว่าท่านไปบำเพ็ญที่ ถ้ำขาม จึง ได้ออกเดินทางต่อไปจนถึงถ้ำขาม ได้กราบนมัสการหลวงปู่ฝั้น อยู่ฟังธรรมและปฏิบัติอยู่กับท่านที่ถ้ำขามประมาณ ๑๕ วัน จึงได้กราบลาหลวงปู่ฝั้น เพื่อไปหาสถานที่บำเพ็ญภาวนาทาง อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร