คู่มือพิธีกร โดยสังเขป

คำบูชาพระรัตนตรัย (หันหน้าไปทางพระพุทธ)
อิมินา สักกาเรนะ, พุทธัง ปูเชมะ, อะระหังสัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา, พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ. (กราบ 1 หน)
อิมินา สักกาเรนะ, ธัมมัง ปูเชมะ, สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม, ธัมมัง นะมัสสามิ (กราบ 1 หน)
อิมินา สักกาเรนะ, สังฆัง ปูเชมะ, สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกสังโฆ, สังฆัง นะมามิ. (กราบ 1 หน)
(แล้วกราบพร้อมกันทั้ง 3 หน)

คำอาราธนาศีลห้า
มะยัง ภันเต ติสะระเณนะ สะหะ, ปัญจะ สีลานิยาจามะ.
ทุติยัมปิ มะยัง ภันเต ติสะระเณนะ สะหะ, ปัญจะ สีลานิยาจามะ.
ตะติยัมปิ มะยัง ภันเต ติสะระเณนะ สะหะ, ปัญจะ สีลานิยาจามะ.

คำอาราธนาศีลห้า อีกแบบหนึ่ง
มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะณัตถายะ, ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะ สีลานิยาจามะ.
ทุติยัมปิ มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะณัตถายะ, ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะ สีลานิยาจามะ.
ตะติยัมปิ มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะณัตถายะ, ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะ สีลานิยาจามะ.

คำอาราธณาศีลแปด
มะยัง ภันเต ติสะระเณนะ สะหะ, อัฏฐะ สีลานิ ยาจามะ.
ทุติยัมปิ มะยัง ภันเต ติสะระเณนะ สะหะ, อัฏฐะ สีลานิ ยาจามะ.
ตะติยัมปิ มะยัง ภันเต ติสะระเณนะ สะหะ, อัฏฐะ สีลานิ ยาจามะ.

คำอาราธนาศีลแปด อีกแบบหนึ่ง
มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะณัตถายะ, ติสะระเณนะ สะหะ อัฏฐะ สีลานิ ยาจามะ.
ทุติยัมปิ มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะณัตถายะ, ติสะระเณนะ สะหะ อัฏฐะ สีลานิ ยาจามะ.
ตะติยัมปิ มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะณัตถายะ, ติสะระเณนะ สะหะ อัฏฐะ สีลานิ ยาจามะ.

คำอาราธนาอุโบสถศีล (ผู้รักษาอุโบสถศีลพึงกล่าวคำสมาทานพร้อมกัน)
มะยัง ภันเต ติสะระเณนะ สะหะ อัฎฐังคะสะมันนาคะตัง อุโปสะถัง ยาจามะ.
ทุติยัมปิ มะยัง ภันเต ติสะระเณนะ สะหะ อัฎฐังคะสะมันนาคะตัง อุโปสะถัง ยาจามะ.
ตะติยัมปิ มะยัง ภันเต ติสะระเณนะ สะหะ อัฎฐังคะสะมันนาคะตัง อุโปสะถัง ยาจามะ.

หมายเหตุ ผู้สมาทานศีลห้า-ศีลแปด-และอุโบสถศีล ถ้าสมาทานคนเดียวพึงเปลี่ยนจาก "มะยัง” เป็น "อะหัง” เปลี่ยนจาก "ยาจามะ” เป็น "ยาจามิ”

นมัสการ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ.
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ.
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ.

สรณคมน์
พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ.
ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ.
สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ.
ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ.
ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ.
ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ.
ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ.
ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ.
ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ.
(พระท่านว่า “สะระณะคะมะนัง นิฎฐิตัง” พึงรับว่า “อามะ ภันเต”)

องค์ศีลห้า
ปาณาติปาตา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
อะทินนาทานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
กาเมสุมิจฉาจารา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
มุสาวาทา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฎฐานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ

สรุปท้ายศีล
ก. ปกติ ว่า. อิมานิ ปัญจะสิกขาปะทานิ, สีเลนะ สุคะติงยันติ, สีเลนะ โภคะสัมปะทา, สีเลนะ นิพพุติงยันติ, ตัสมา สีลัง วิโสธะเย
ข. นิจจะศีล ว่า. อิมานิ ปัญจะ สิกขาปะทานิ, นิจจะสีละเวสนะ สาธุกัง รักขิตัพพานิ, (รับว่า “อามะภันเต”) สีเลนะ สุคะติง ยันติ, สีเลนะ โภคะสัมปะทา, สีเลนะ นิพพุติงยันติ, ตัสมา สีลัง วิโสธะเย.

องค์ศีลแปด และ อุโบสถศีล (นมัสการและสรณคมน์ เหมือนศีลห้า)
ปาณาติปาตา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
อะทินนาทานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
อะพรัหมะจะริยา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
มุสาวาทา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฎฐานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
วิกาละโภชะนา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
นัจจะ คีตะ วาทิตะ วิสูกะ ทัสสะนะ มาลาคันธะ วิเลปะนะ ธาระณะ มัณฑะนะ วิภูสะนัฎฐานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
อุจจาสะยะนะ มะหาสะยะนา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ

สรุปท้ายศีลแปด
ก. ปกติ ว่า อิมานิ อัฎฐะ สิกขาปะทานิ, สีเลนะ สุคะติง ยันติ, สีเลนะ โภคะสัมปะทา, สีเลนะ นิพพุติง ยันติ ตัสมา สีลัง วิโสธะเย.
ข. อุโบสถศีล. เมื่อเวลาจบสิกขาบทแล้ว พึงนำให้ว่าคำสมาทานดังนี้

อิมัง อัฎฐังคะ สะมันนาคะตัง พุทธะปัญญัตตัง อุโปสะถัง อิมัญจะรัตติง อิมัญจะ ทิวะสัง สัมมะเทวะ อะภิรักขิตุง สะมาทิยามิ.
(คำแปล) ข้าพเจ้า ขอสมาทาน ซึ่งอุโบสถศีล ที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้ ประกอบพร้อมไปด้วยองค์แปดประการ ดังสมาทานมาแล้วนี้ เพื่อรักษา ให้บริสุทธิ์ ให้บริบูรณ์ สิ้นวันหนึ่งกับคืนหนึ่ง ณ เพลาวันนี้ ขอกุศลผลบุญส่วนนี้ จงเป็นอุปนิสัยเป็นปัจจัย แห่งทางพระนิพพาน ในอนาคตกาลเบื้องหน้าโน้นเทอญ

สรุปท้ายอุโบสถศีล ว่า.
อิมานิ อัฎฐะ สิกขาปะทานิ, อัชเชกัง รัตตินทิวัง อุโปสะถะวะเสนะ สาธุกัง รักขิตัพพานิ. (ผู้สมาทานรับว่า “อามะ ภันเต”) สีเลนะ สุคะติง ยันติ สีเลนะ โภคสัมปะทา, สีเลนะ นิพพุติง ยันติ, ตัสมา สีลัง วิโสธะเย

ชุมนุมเทวดา
สะมันตา จักกะวาเฬสุ อัตราคัจฉันตุ เทวะตา, สัทธัมมัง มุนิราชัสสะ สุณันตุ สัคคะโมกขะทัง,สัคเค กาเม จะ รูเป คิริสิขะระตะเฎ จันตะลิกเข วิมาเน, ทีเป รัฎเฐ จะ คาเม ตะรุวะนะคะหะเน เคหะวัตถุมหิ เขตตะ. ภุมมา จายันตุ เทวา ชะละถะละวิสะเม ยักขะคันธัพพะนาคา, ติฎฐันตา สันติเก ยัง มุนิวะระวะจะนัง สาธะโว เม สุณันตุ. ธัมมัสสะวะนะกาโล อะยัมภะทันตา, ธัมมัสสะวะนะกาโล อะยัมภะทันตา, ธัมมัสสะวะนะกาโล อะยัมภะทันตา. ฯ

คำอาราธนาพระปริตร
วิปัตติปะฏิพาหายะ สัพพะสัมปัตติสิทธิยา, สัพพะทุกขะ วินาสายะ ปะริตตัง พรูถะ มังคะลัง.
วิปัตติปะฏิพาหายะ สัพพะสัมปัตติสิทธิยา, สัพพะภะยะ วินาสายะ ปะริตตัง พรูถะ มังคะลัง.
วิปัตติปะฏิพาหายะ สัพพะสัมปัตติสิทธิยา, สัพพะโรคะ วินาสายะ ปะริตตัง พรูถะ มังคะลัง. ฯ

คำอาราธนาพระธรรม
พรัหมา จะ โลกาธิปะตี สะหัมปะติ กัตอัญชะลี อันธิวะรัง อะยาจะถะ สันตีธะ สัตตาปปะระชักขะชาติกา เทเสตุ ธัมมัง อะนุกัมปิมัง ปะชัง. ฯ

คำอาราธนาพระธรรม วันธัมมัสสวนะ
จาตุททะสี ปัณณะระสี ยา จะ ปักขัสสะ อัฎฐะมี กาลา พุทเธนะ ปัญญัตตา สัทธัมมัสสะวะนัสสิเม, จาตุททะสี อยันทานิ สัมปัตตา อะภิลักขิตา, เตนายัง ปะนิสา ธัมมัง โสตุง อิธะ สะมาคะตา, สาธุ อัยโย ภิกขุสังโฆ กะโรตุ ธัมมะเทสะนั่ง อะยันจะ ปะริสา สัพพา อัฎฐิกัตตะวา สุณาตุ ตันติ. ฯ

หมายเหตุ คำว่า "จาตุททะสี" ใช้ในวันพระ 14 ค่ำ ถ้าเป็นวันพระ 8 ค่ำ ว่า "อัฏฐมี โข" ถ้าเป็นวันพระ 15 ค่ำ ว่า "ปัณณะระสี"

คำอาราธนาพาหุง
โอกาสะ สันโน ภันเต ทักขันจะ วะรัญจะ สา ธัมมะเทสะนา ยาจามะ อะธิ ปัสสะติ โนทานัง อะนุตตะริสสามะ.

คำถวายสังฆทาน(แบบทั่วไป)
อิมานิ มะยัง ภันเต, ภัตตานิ, สะปะริวารานิ, ภิกขุสังฆัสสะ, โอโณชะยามะ, สาธุ โน ภันเต, ภิกขุสังโฆ, อิมานิ, ภัตตานิ, สะปะริวารานิ, ปะฏิคคัณหาตุ, อัมหากัง, ทีฆะรัตตัง, หิตายะ, สุขายะ.

คำแปล
ข้าแต่พระภิกษุสงฆ์ผู้เจริญ, ข้าพเจ้าทั้งหลาย, ขอน้อมถวาย, ซึ่งภัตตาหาร, กับทั้งบริวาร, ทั้งหลายเหล่านี้, แด่พระภิกษุสงฆ์ ขอพระภิกษุสงฆ์จงรับ, ซึ่งภัตตาหาร, กับทั้งบริวาร, ทั้งหลายเหล่านี้, ของข้าพเจ้าทั้งหลาย, เพื่อประโยชน์, และความสุข, แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย, ตลอดกาลนาน เทอญ. ฯ

คำถวายภัตตาหารอุทิศ(แบบวัดเขาสุกิม) (หันหน้าไปทางพระภิกษุ ผู้รับภัตตาหาร)
นะโม ตัสสะ, ภะคะวะโต, อะระหะโต, สัมมา, สัมพุทธัสสะ.
นะโม ตัสสะ, ภะคะวะโต, อะระหะโต, สัมมา, สัมพุทธัสสะ.
นะโม ตัสสะ, ภะคะวะโต, อะระหะโต, สัมมา, สัมพุทธัสสะ.

อิมานิ, มะยัง ภันเต, ภัตตานิ, สะปะริวารานิ, สีละวันตานัง, โอโนชะยามะ, สาธุ โน ภันเต, สีละวันโต, อิมานิ, ภัตตานิ, สะปะริวารานิ, ปะฏิคคันหันตุ, อัมหากัญเจวะ, มาตาปิตุ, อาทีนัญจะ, ญาตะกานัง, ทีฆะรัตตัง, หิตายะ, สุขายะ.

ข้าแต่พระคุณเจ้า, ผู้ทรงศีลธรรมผู้เจริญ, ข้าพเจ้าทั้งหลาย, ขอน้อมถวาย, ซึ่งภัตตาหาร, กับทั้งบริวาร, ทั้งหลายเหล่านี้, แด่ พระคุณเจ้าผู้เจริญ, ขอพระคุณเจ้าผู้เจริญ,จงรับ, ซึ่งภัตตาหาร, กับทั้งบริวาร, ทั้งหลายเหล่านี้, ของข้าพเจ้าทั้งหลาย, เพื่อประโยชน์, และความสุข, ความเจริญ, แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย, และข้าพเจ้าทั้งหลาย, ขออุทิศส่วนกุศลนี้, ให้แก่บิดามารดา, และญาติ, ของข้าพเจ้าทั้งหลาย, ที่ล่วงลับดับขันธ์ไปแล้วนั้น, ถ้าหากว่า, บิดามารดา, และญาติ, ของข้าพเจ้าทั้งหลาย, ยังไม่ทราบข่าวสารนี้, ข้าพเจ้าทั้งหลาย, ขอมอบข่าวสารนี้, แด่เทพเจ้าทั้งหลาย, มีรุกขะเทวดา, ภุมมะเทวดา, และอากาศเทวดาเป็นต้น, จงนำข่าวสารนี้, ไปแจ้งแก่. บิดามารดา, และญาติ, ของข้าพเจ้าทั้งหลาย, จนกว่าจะได้รับทราบ, เมื่อทราบแล้ว, จงอนุโมทนา, เมื่ออนุโมทนาแล้ว, หากตกทุกข์ได้ยาก, ก็ขอให้พ้นทุกข์, เมื่อมีความสุขแล้ว, ก็ขอให้มีความสุข, ยิ่ง ๆ ขึ้นไปเทอญ. ฯ

คำถวายผ้ากฐิน
อิมัง ภันเต, สะปะริวารัง, กะฐินะจีวะระทุสสัง, สังฆัสสะ, โอโณชะยามะ, สาธุ โน ภันเต, สังโฆ, อิมัง, สะปะริวารัง, กะฐินะทุสสัง, ปะฏิคคัณหาตุ, ปะฏิคคะเหตวาจะ, อิมินา ทุสเสนะ, กะฐินัง, อัตถะระตุ, อัมหากัง, ทีฆะรัตตัง, หิตายะ, สุขายะ.

คำแปล
ข้าแต่พระภิกษุสงฆ์ผู้เจริญ, ข้าพเจ้าทั้งหลาย, ขอน้อมถวาย, ซึ่งผ้ากฐินจีวร, กับทั้งบริวาร, ทั้งหลายเหล่านี้, แด่ พระภิกษูสงฆ์, ขอพระภิกษุสงฆ์ จงรับ, ซึ้งผ้ากฐินจีวร, กับทั้งบริวาร, หั้งหลายเหล่านี้, ของข้าพเจ้าทั้งหลาย, ครั้นรับแล้ว, จงกรานกฐินด้วยผ้านี้, เพื่อประโยชน์, และความสุข, แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย, ตลอดกาลนาน เทอญ. ฯ

คำถวายผ้าจีวร
อิมานิ มะยัง ภันเต, จีวะรานิ, สะปะริวารานิ, ภิกขุสังฆัสสะ, โฮโณชะยะมะ, สาธุ โน ภันเต, ภิกขุสังโฆ, อิมานิ, จีวะรานิ, สะปะริวารานิ, ปะฏิคคัณหาตุ, อัมหากัง, ทีฆะรัตตัง, หิตายะ, สุขายะ.

คำแปล
ข้าแต่พระภิกษุสงฆ์ผู้เจริญ, ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวาย, ซึ่งผ้าจีวร, กับทั้งบริวาร, ทั้งหลายเหล่านี้, แด่ พระภิกษุสงฆ์, ขอพระภิกษุสงฆ์ จงรับ, ซึ่งผ้าจีวร, กับทั้งบริวาร, ทั้งหลายเหล่านี้, ของข้าพเจ้าทั้งหลาย, เพื่อประโยชน์, และความสุข, แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย, ตลอดกาลนาน เทอญ. ฯ

คำถวายผ้าวัสสิกิสาฎก(ผ้าอาบน้ำฝน)
อิมานิ มะยัง ภันเต, วัสสิกะสาฏิกานิ, สะปะริวารานิ, ภิกขุสังฆัสสะ, โอโณชะยามะ, สาธุ โน ภันเต, ภิกขุสังโฆ, อิมานิ, วัสสิกพสาฏิกานิ, สะปะริวารานิ, ปะฏิคคัณหาตุ, อัมหากัง, ทีฆะรัตตัง, หิตายะ, สุขายะ.

คำแปล
ข้าแต่พระภิกษุสงฆ์ผู้เจริญ, ข้าพเจ้าทั้งหลาย, ขอน้อมถวาย, ผ้าอาบน้ำฝน, กับทั้งบริวาร, ทั้งหลายเหล่านี้, แด่พระภิษุสงฆ์, ขอพระภิกษุสงฆ์จงรับ, ผ้าอาบน้ำฝน, กับทั้งบริวาร, ทั้งหลายเหล่านี้, ของข้าพเจ้าทั้งหลาย, เพื่อประโยชน์, และความสุข, แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย, ตลอดกาลนาน เทอญฯ

คำถวายพระพุทธรูป
อิมัง ภันเต, พุทธะรูปัง, สังฆัสสะ, โอโณชะยามะ, อายะติง, สาสะนัสสะ, อะติโรจะนายะ จะ, ถาวะรายะ จะ, สาธุ โน ภันเต, สังโฆ, อิมัง, พุทธะรูปัง, ปะฏิคคัณหาตุ, อัมหากัง, ทีฆะรัตตัง, หิตายะ, สุขายะ.

คำแปล
ข้าแต่ท่านทั้งหลายผู้เจริญ, ข้าพเจ้าทั้งหลาย, ขอน้อมถวาย, ซึ่งพระพุทธรูปนี้, แด่พระสงฆ์, เพื่อความรุ่งเรื่อง, และเพื่อความถาวร, แห่งพระศาสนาต่อไป, ข้าแต่ท่านทั้งหลายที่เจริญ, ขอพระสงฆ์จงรับ, ซึ่งพระพุทธรูปนี้, ของข้าพเจ้าทั้งหลาย, เพื่อประโยชน์, และความสุข, แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย, ตลอดกาลนาน เทอญฯ

คำถวายศาลาโรงธรรม
มะยัง ภันเต, อิมัง, สาลัง, ธัมมะสะภายะ, อาคะตานาคะตัสสะ, จาตุททิสัสสะ, ภิกขุสังฆัสสะ, โอโณชะยามะ, สาธุ โน ภันเต, อิมั้ง, ธัมมะสะภังสาลัง, ปะฏิคคัณหาตุ, อัมหากัง, ทีฆะรัตตัง, หิตายะ, สุจายะ.

คำแปล
ข้าแต่ภิกษุสงฆ์ผู้เจริญ, ข้าพเจ้าทั้งหลาย, ขอน้อมถวาย, ศาลาโรงธรรมหลังนี้, เพื่อเป็นที่ประชุมแสดงธรรม, แก่พระภิกษุสงฆ์, ผู้มีอยู่ในทิศทั้ง 4, ที่มาแล้วก็ดี, และยังไม่มาก็ดี, ข้าแต่ภิกษุสงฆ์ผู้เจริญ, ขอพระภิกษุสงฆ์ จงรับ, ศาลาโณงธรรมหลังนี้, ของข้าพเจ้าหลังหลาย, เพื่อประโยชน์ และความสุข, แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย, ตลอดกาลนาน เทอญ. ฯ

คำถวายเสนาสนะ กุฏิ วิหาร
อิมานิ มะยัง ภันเต, เสนาสะนานิ, สะปะริวารานิ, อาคะตานาคะตัสสะ, จาตุททิสัสสะ, ภิกขุสังฆัสสะ, โอโณชะยามะ, สาธุ โน ภันเต, ภิกขุสังโฆ, อิมานิ, เสนาสะนะานิ, ปะฏิคคัณหาตุ, อัมหากัง, ทีฆะรัตตัง, หิตายะ, สุขายะ.

คำแปล
ข้าแต่พระภิกษุสงฆ์ผู้เจริญ, ข้าพเจ้าทั้งหลาย, ขอน้อมถวาย, เสนาสนะ, กับทั้งบริวาร, ทั้งหลายเหล่านี้, แด่ พระภิกษุสงฆ์, ผู้มีอยู๋ในทิศทั้ง 4, ที่มาแล้วก็ดี, และยังไม่มาก็ดี, ข้าแต่พระภิกษุสงฆ์ผู้เจริญ, ขอพระภิกษุสงฆ์ จงรับ, เสนาสนะ, กับทั้งบริวาร, ทั้งหลายเหล่านี้, ของข้าพเจ้าทั้งหลาย, เพื่อประโยชน์, และความสุข, แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย, ตลอดกาลนาน เทอญ. ฯ

คำถวายเว็จจกุฏี(ห้องน้ำ-ห้องส้วม)
มะยัง ภันเต, อิมัง, วัจจะกุฏิง, อาคะตานาคะตัสสะ, จาตุททิสัสสะ, ภิกขุสังฆัสสะ, โอโณชะยามะ, สาธุ โน ภันเต, ภิกขุสังโฆ, อิมัง, วัจจะกุฏิง, ปะฏิคคัณหาตุ, อัมหากัง, ทีฆะรัตตัง, หิตายะ, สุขายะ.

คำแปล
ข้าแต่พระภิกสุสงฆ์ผู้เจริญ, ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวาย, เว็จจะกุฏีหลังนี้, แด่ พระภิกษุสงฆ์, ผู้มีอยู๋ในทิศทั้ง 4, ที่มาแล้วก็ดี, และยังไม่มาก็ดี, ข้าแต่พระภิกษุสงฆ์ผู้เจริญ, ขอพระภิกษุสงฆ์ จงรับ, เว็จจะกุฏีหลังนี้, ของข้าพเจ้าทั้งหลาย, เพื่อประโยชน์, และความสุข, แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย, ตลอดกาลนาน เทอญ. ฯ

คำถวายสะพาน
มะยัง ภันเต, เสตุง, มะหาชะนานัง, สาธาระณัตถายะ, นิยาเทมะ, สาธุ โน ภันเต, ภิกขุสังโฆ, อิมัสมิง, เสตุมหิ, นิยาทิเต, สักขิโก, โหตุ, อิทัง, เสตุทานัง, อัมหากัง, ทีฆะรัตตัง, หิตายะ, สุขายะ.

คำแปล
ข้าแต่พระภิกษุสงฆ์ผู้เจริญ, ข้าพเจ้าทั้งหลาย, ขอมอบถวาย, ซึ่งสะพานนี้, เพื่อสาธารณะประโยชน์, แก่มหาชนทั้งหลาย, ขอพระภิกษุสงฆ์จงเป็นพยาน, แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย, ในสะพานที่ข้าพเจ้าทั้งหลาย, ได้มอบให้แล้วนี้, ขอการใช้สะพานนี้, จงเป็นไป, เพื่อประโยชน์, และความสุข, แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย, ตลอดกาลนานเทอญ. ฯ

คำถวายเภสัช-ยารักษาโรค
อิมานิ, มะยัง ภันเต, เภสัชชานิ, ภิกขุสังฆัสสะ, โอโณชะยามะ, สาธุ โน ภันเต, ภิกขุสังโฆ, อิมานิ, เภสัชชานิ, ปะฏิคคัณหาตุ, อัมหากัง, ทีฆะรัตตัง, หิตายะ, สุขายะ.

คำแปล
ข้าแต่พระภิกษุสงฆ์ผู้เจริญ, ขอพระภิกษุสงฆ์ จงรับ, ยารักษาโรคเหล่านี้, ของข้าพเจ้าทั้งหลาย, เพื่อประโยชน์, และความสุข, แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย, ตลอดกาลนาน เทอญ. ฯ

คำถวายเภสัชทาน 5 มีน้ำผึ้งเป็นต้น
สะระโท, นามายัง, ภันเต, กาโล, สัมปัตโต, ยัตถะ, ตถาคะโต, อะระหังสัมมาสัมพุทโธ, สาระทิกาพาเธนะ, อาพาธิกานัง, ภิกขูนัง, ปัญจะ, เภสัชชานิ, อะนุญญาสิ, สัปปิ, นะวะนีตัง, เตลัง, มะธุ, ผาณิตัง, มะยันทานิ, ตักกาละสะทิสัง, สัมปัตตา, ตัสสะ, ภะคะวะโต, ปัญญัตตานุคัง, ทานัง, ทาตุกามา, เตสุ, ปริยาปันนัง, มะธุง จะ, เตลัง จะ, ผาณิตัง จะ, ภิกขูนัญเจวะ, สามเณรนัญจะ, โอโณชะยามะ, สาธุ โน ภันเต, อัยยะ, ยถาวิภัตตา, มะธุทานัง จะ, เตลัง จะ, ผาณิตัง จะ, ปะฏิคคัณหาตุ, อัมหากัง, ทีฆะรัตตัง, หิตายะ, สุขายะ.

คำแปล
ข้าแต่พระภิกษุสงฆ์ผู้เจริญ, บัดนี้, สรทกาลมาถึงแล้ว, ในกาลใดเล่า, พระตถาคต, อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า, ทรงอนุญาตเภสัช 5 อย่าง, คือ เนยใส, เนยข้น, น้ำมัน, น้ำผึ้ง, น้ำอ้อย, แก่ภิกษุทั้งหลายผู้อาพาธ, ด้วยโรคเกิดขึ้นในสรทกาล, บัดนี้, ข้าพเจ้าทั้งหลาย, มาถึงกาลเช่นนี้แล้ว, ปรารถนาจะถวายทาน, ตามพระพุทธานุญาต, ของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น, จึงถวาย, น้ำผึ้ง, กับน้ำมัน, และน้ำอ้อย, อันนับเข้าในเภสัช 5 อย่านั้น, แก่ภิกษุและสามเณรทั้งหลาย, ขอพระคุณเจ้าทั้งหลาย, จงรับ, มะธุทาน, เตละทาน, และผาณิตทาน, ของข้าพเจ้าทั้งหลาย, ตามที่แจกถวายแล้วนั้น, เพื่อประโยชน์, และความสุข, แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย, สิ้นกาลนาน เทอญ. ฯ

คำถวายดอกไม้ธูปเทียน
อิมานิ มะยัง ภันเต, ทีปะ, ธูปะ, ปุปผะวะรานิ, ระตะนัตตะยัสเสวะ, อะภิปูชะยามะ, อัมหากัง, ระตะนัตตะยัสสะ, ปูชา, ทีฆะรัตตัง, หิตาสุขาวะหา, โหตุ, อาสะวักขะยัปปัตติยา, โหตุ.

คำแปล
ข้าแต่พระคุณเจ้าทั้งหลายผู้เจริญ, ข้าพเจ้าทั้งหลาย, ขอบูชา, ธูปเทียนและดอกไม้, อันประเสริฐเหล่านี้, แด่ พระรัตนตรัย, การบูชาแด่พระรัตนตรัยนี้, จงเป็นผลนำมา, ซึ่งประโยชน์, และความสุข, แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย, ตลอดกาลนาน, จงเป็นไป, เพื่อให้ถึงซึ่งพระนิพพาน, เป็นที่สิ้นไป, แห่งอาสะวะกิเลส เทอญ. ฯ

คำถวายกระทงสำหรับลอยประทีป
มะยัง อิมินา, ปะทีเปนะ, อะสุกายะ, นะทิยา, ปุลิเน, ฐิตัง, มุนิโน, ปาทะวะลัญชัง, อะภิปูชะยามะ, อะยัง, ปะทีเปนะ, มุนิโน, ปาทะวะลัญชัสสะ, ปูชา, อัมหากัง, ทีฆะรัตตัง, หิตายะ, สุขายะ, สังวัตตะตุ.

คำแปล
ข้าพเจ้าทั้งหลาย, ขอบูชา, ซึ่งรอยพระพุทธบาท, ที่ตั้งอยู่เหนือหาดทราย, ในแม่น้ำ, ชื่อนัมมะทาที่โน้น, ด้วยประทีปนี้, การบูชารอยพระบาท, ด้วยประทีปนี้, ขอจงเป็นไป, เพื่อประโยชน์, และความสุข, แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย, ตลอดกาลนาน เทอญ. ฯ

คำขอคารวะ พระเถระนุเถระ
- ตั้งนะโม 3 จบ -
อารจาริเย ปะมาเทนะ, ทะวารัตตะเยนะกะตัง, สัพพัง อะปะราธัง ขะมะตุ โน ภันเต.
อารจาริเย ปะมาเทนะ, ทะวารัตตะเยนะกะตัง, สัพพัง อะปะราธัง ขะมะตุ โน ภันเต.
อารจาริเย ปะมาเทนะ, ทะวารัตตะเยนะกะตัง, สัพพัง อะปะราธัง ขะมะตุ โน ภันเต.

(ผู้รับขมา ว่า) อะหัง ขะมามิ ตุมเหหิปิ เม ขะมิตัพพัง.
(ผู้ขอขมาหมอบลง และรับว่า) ขะมามะ ภันเต.
(เมื่อพระท่านให้พรเสร็จ พังรับว่า) สาธุ ภันเต.

หมายเหตุ ถ้าขอขมา

พระอุปัชฌาย์ ว่า “อุปัชฌาเย”
พระมหาเถระ ว่า “มหาเถเร”
พระเถระ ว่า “เถเร”
พระทั่วไป ว่า “อายัสมันเต”
ผู้ขอขมาคนเดียวพึงเปลี่ยน ว่า “ขะมะตุ เม”
ผู้รับขมาจากผู้ขอคนเดียวเปลี่ยน ว่า “ตะยาปิ เม”

คำกัปปิยะพีชคาม
(พืชและผลไม้ที่จะเพาะปลูกได้อีก)
คำถามของพระว่า "กัปปิยัง กะโรหิ”
คฤหัสถ์ รับว่า "กัปปิยะ ภันเต” (พร้อมกับทำสิ่งของนั้นให้ควรด้วย) 


ที่มา : คู่มือพิธีกรอภินันทนาการจาก คุณประมวน นิติวัฒนะ และเหมืองปองธรรม

เนื่องในวันเข้าพรรษา วันศุกร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2531