พระธรรมเทศนา วิธีสร้างสติ .

วิธีสร้างสติ .


          สติเป็นของดี แต่คำที่ว่าสตินั้นหมายถึง การระลึกรู้ คำที่ว่าการระลึกรู้นั้นหมายถึง การระลึกรู้ถึง ความดีความชั่ว ทั้งของตนเองและของคนอื่น คำที่ว่าระลึกรู้ในความดีความชั่วนั้น พวกเราคงเข้าใจกันดี อย่างการกระทำดีของคนอื่น การกระทำชั่งของ คนอื่น การพูดดีพูดชั่งของคนอื่น ท่านจัดว่าเป็นการกระทำภายนอก หรื่อเรื่องของคนอื่นเราก็ระลึกรู้ ส่วนเรื่องการกระทำดีของเราเอง การกระทำชั่วของ เราเอง การพูดดีพูดชั่วของเราเองก็ให้ระลึกรู้ คำที่ว่าระลึกนั้นระลึกอะไร ก็คือการระลึกถึงสิ่งที่กระทำแล้วระลึกถึงผลที่จะตอบเป็นอานิสงส์มา การกระ ทำดีของเรา การพูดดีของเราสิ่งที่เป็นอานิสงส์ คืออะไร ก็คือ ความสุข ความสงบ ความพอใจ ความอิ่มใจ เหล่านี้เป็นอานิสงส์ตอบสนอง การพูดไม่ดี การทำไม่ดีของเรา อานิสงส์นั้นคือ ความทุกข์ ความเดือดร้อน ความเศร้าหมอง ความคับแค้นใจ เหล่านี้เป็นอานิสงส์ตอบสนองสำหรับคนอื่น การพูดดีของ คนอื่น เราก็มองเห็นได้ชัด สำหรับการกระทำชั่ว การพูดชั่วของคนอื่น สิ่งเหล่านี้เราจะต้องระลึกถึง เมื่อระลึกถึงความดีความชั่วของเรา และเราระลึกถึง ความดีความชั่วของคนอื่น พร้อมทั้งการกระทำ พร้อมทั้งคำพูด และอานิสงส์ซึ่งเป็นสิ่งที่ตอบสนองมา เมื่อเราสามารถระลึกกันอยู่ได้อย่างนี้เสมอๆแล้ว ก็จะเป็นเครื่องกันไม่ให้เราพูดชั่ว ไม่ให้เรากระทำชั่ว เพราะอาศัยอานิสงส์สิ่งที่ไม่ดี เราไม่ตอ้งการ เราไม่ปรารถนา มันปรากฏเป็นรั้วกั้น หรือเป็นภาพชนิดหนึ่ง ป้องกันมิให้กระทำชั่ว พูดชั่ว สำหรับเรื่องของคนอื่นและของเราก็เหมือนกัน เมื่อเราพูดดีทำดี อานิสงส์ตอบสนองก็คือ ความสุข ก็เป็นเหตุอุดหนุน เมื่อ เราท้อแท้อ่อนแอ ไม่อยากจะทำความดี มันจะเป็นเคื่องส่งเสริมหรือเพิ่มกำลังของจิตให้มีกำลังขึ้น พอสมควรแก่งาน หรือจะได้ประกอบกิจการงานส่วนนั้น มันเป็นอย่างนี้แหละ เพราะฉะนั้น ท่านจึงว่า สติคือความระลึกรู้ คำที่ว่าระลึกรู้ก็คือ ระลึกรู้ถึงความดี ความชั่ว ระลึกถึงความดีเพื่อเอามาเป็นกำลังใจ ในเมื่อ ต้องการจะทำความดีแต่จิตมันอ่อนแอท้อแท้จะได้เป็นกำลังส่งเสริมจิตใจเราให้แข็ง ส่วนความชั่วที่ระลึกถึงนั้น ก็ต้องการจะเอามาเป็นเครื่องป้องกันไม่ให้ เราพูดชั่วทำชั่วดังกล่าว ท่านบอกว่าการระลึกนี้ไม่มีที่สิ้นสุด เมื่อบุคคลผู้สร้างกำลังสติคือตัวระลึกรู้ให้มากที่สุดเท่าที่จะระลึกได้แล้ว การระลึกถึงเบื้อง หลังถึงเหตุการณืต่างๆ จะระลึกได้ไกลที่สุด แต่ระยะแรกฝึกนั้นอาจจะช้าสักหน่อย เมื่อพยายามสร้างระลึกนี้ให้ดีขึ้นๆ จนกลายเป็น "ชวนะ" ในที่สุดแล้ว จนสามารถได้สมัญญานามว่า "ชวนะ" คือ การว่องไวของการระลึก

          การระลึกนั้นในเมื่อเราหัดระลึก เราหัดได้ในเหตุการณ์อย่างไร จะหัดเมื่อมีเหตุการณ์ชนิดในเกิดขึ้น จะเป็นไปเพื่อความเสียหายหรือความเจริญก็ตาม เราต้องระลึกอยู่เสมอ หัดระลึกให้ได้ทั้งทางดีและทางชั่วนั่นแหละ เมื่อเหตุการณ์ที่จะเป็นไปในทางเจริญ เมื่อระลึกในทางชั่ว เราไม่พอใจในทางชั่ว การกระทำ อย่างนั้น การพูดอย่างนั้นมันชั่ว แต่บัดนี้เราต้องการในทางเจริญ เรากำลังดำเนินอยู่ในทางเจริญ ความชั่วเป็นไปอย่างนั้นมันตรงกันข้าม เราก็รู้ได้เพราะ เป็นสิ่งเปรียบเทียบกัน หรือมีเหตุการณ์ในสิ่งที่จะเป็นไปเพื่อความเสียหาย เมื่อเราระลึกถึงความชั่วก็เหมือนกัน เราก็ไม่กล้าที่จะกระทำความชั่ว หรือพูดชั่วลง ไปได้เพราะว่าเราเห็นอานิสงส์ที่จะตอบสนองมานั้นเป็นสิ่งที่เราไม่ต้องการเลย เมื่อเราระลึกถึงความดีแล้วเล่าก็ยิ่งเป็นเหตุให้เราไม่กล้าทำความชั่ว เพราะว่า ความดีมีอานิสงส์ดีที่เราอยากได้ เพราะฉะนั้น เมื่อมีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้น เราควรหัดระลึกถึงสิ่งที่เราจะเอามาแก้ไขให้ทัน ตัวอย่างเช่น มีคนตำหนิลงโทษเรา หรือมีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้นเป็นสิ่งที่จะนำความทุกข์มาทับถมเรา เราควรรีบหาทางระลึกถึงสิ่งต่างๆ มาเพื่อเป็นการป้องกันไว้ให้ไวที่สุด

          ในเบื้องต้นนั้น การระลึกคล้ายกับว่าเราอาจจะสอนให้ระลึกถึงเหตุการณ์เบื้องหลังของเรา เรื่องของคนอื่นก็ดี เรื่องของตนก็ดี ที่ผ่านมาแล้วทั้งทาง ที่ดีและทางที่ชั่ว ระลึกมาเพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เหตุการณ์ในทางที่ไม่ดีปรากฏขึ้น ถ้าเรายอมให้ปรากฏขึ้นแล้วจะเป็นการเสียหาย เมื่อเราพยายามหัดระลึก อยู่อย่างเสมอๆแล้ว ต่อไปคล้ายกันกับว่าไม่ต้องระลึก เราไม่ต้องนึกมันก็เป็นไปเอง มันมาแก้ไขเอง จนรู้สึกว่าดีขึ้นๆ เป็นลำดับๆ ไป แต่เบื้องต้นเราต้อง ชวนมันก่อน เราต้องนำพามันก่อน เมื่อเราชวนจนจิตของเราเคยชินแล้วรู้สึกว่าเป็นของง่าย ในระยะแรกๆที่มันยังไม่เคยชินนี้ เราต่องหาทางฝึกหรือหาอุบาย บังคับเมื่อฝึกบังคับได้ดีแล้วจะเป็นของง่าย เราลองนึกดูว่า ในทางที่ไม่ดีเรางึกมันเรามองเห็นชัดๆ ว่าบางสิ่งบางอย่างเป็นไปในทางทุกข์ไม่มีสุขเลย เป็น การประกอบการทุกข์แท้ๆ ซึ่งเราจะมองเห็นได้ชัด ตัวอย่าง คนที่ชอบเล่นการพนัน การเล่นการพนันนั้นที่นั่งก็ไม่สู้จะดี บางครั้งก็ต้องนั่งยองๆหรือตรงที่นั่ง อาจจะตะแคงๆอะไรก็แล้วแต่ จะเป็นไปซึ่งไม่เหมาะสมนัก เพราะว่าการเล่นการพนันนั้นจะไปเล่นกลางแจ้ง หรือสถานที่สะอาดสะอ้านอะไรเหล่านี้ไม่สู้จะได้ แต่ ก็อาจจะมีบ้าง แต่ก็โดยส่วนมากก็มักจะเข้าไปเล่นอยู่ในป่าใต้ร่มไม้ หรือตรงที่ปลอดภัยอะไรทำนองนี้ สถานที่เล่นไม่สู้จะดีเท่าไรนัก เรื่องนี้จะเห็นว่ามันทุกข์อยู่แล้ว ประการหนึ่ง ส่วนจิตใจก็ยังหวาดระแวง กลัวเจ้าหน้าที่จะมาพบก็เป็นทุกข์ อีกประการหนึ่ง กล้วเสียต้องการอยากจะได้ นี่ยิ่งเป็นทุกข์ใหญ่ ทั้งกลัวจะต้มอะไร หลอกอะไรต่ออะไรต่างๆ เหลี่ยมของผู้เล่นการพนันมันจัด กลัวว่าเหลี่ยมของเราจะไม่ถึงเขา อะไรเหล่านี้เป็นต้น ทุกสิ่งทุกอย่างมองดูแล้วมันเป็นทุกข์ แต่เมื่อเราฝึกจิตให้คุ้นเคยกับการเล่นการพนันจัดๆ เข้ามันต้องการเอง มันชวนเราเอง นึกอยากจะเล่นไปตลอดเวลา คอยสอดส่องมองดูหาหมู่คณะว่าเมื่อไร เขาจะไปกัน เหล่านี้เป็นต้น นี่แสดงให้เห็นว่าในเบื้องต้นเราเป็นผู้ชวนก่อน เมื่อชวนจนเคยชินแล้ว ต่อมาเราไม่ต้องชวน มันจะชวนเราเอง เรื่องจิตก็เช่นเดียวกัน การหาอุบายวิธีมาป้องกันความชั่วไม่ให้เกิดขึ้น หรือหาช่องทางมาบำรุงความดีที่มีอยู่ให้สูงขึ้น เมื่อจิตต้องการที่จะประกอบความดี หากำลังมาอุดหนุนให้จิตนั้น ได้มีความพยายาม หรือพลังที่จะประกอบกิจการงานนั้นให้สำเร็จไป เราก็หาอุบายวิธีเพิ่มเติมพลังนั้น เราตอ้งพยายามฝึก เมื่อฝึกให้เป็นไปไดแล้วต่อไปก็ ไม่สู้จะยาก คล้านกันกับว่ามันเป็นไปเอง เพราะฉะนั้นในเบื้องต้นเราต้องอดทนเอาหน่อย ต้องใช้ความพยายาม หัดใช้สติระลึกถึงเบื้องหลังของเราว่าอะไร ต่ออะไรให้มากสักหน่อย เมื่อต่อไปเราฝึกได้จนชำนาญดีแล้วก็ย่อมจะเป็นประโยชน์ดี ก็ไม่มีอะไรยุ่งยากเพราะจิตของเราคุ้นเคยแล้ว มันก็แก้ไขเองไปเรื่อย ตามลำดับ พระอริยเจ้าท่านก็ฝึกเหมือนอย่างที่พวกเรากระทำนี้แหละ ต่อไปเมื่อท่านมีความชำนาญแล้ว ท่านก็ให้ตั้งสติเอาไว้ไม่ให้เผลอให้มีสติรู้อยู่ในตัว คอยรับ รู้อยู่ในอาการเคลื่อนไหว เมื่อท่านมีสติรับรู้อยู่ ตัวที่แต่งจะรู้สึกว่ามันแต่งเองเสมอไป แต่เบื้องต้นก็ต้องอาศัยพความพยายามช่วยแต่งเสียก่อน เช่น เราจะหยิบ อะไร เราจะวางตรงไหน ดราจะลุกขึ้รครั้งหนึ่ง เราต้องนึกถึงเพศ วัย ฐานะ การหยิยของ การวางของหัดระลึกถึงคนอื่นที่ไม่ดี ไม่งาม คนอื่นที่ทำดี ทำงาม คนที่เผลอ คนทีไม่เผลอ อะไรเหล่านี้ พยายามหัดระลึกถึงอยู่เสมอๆ แล้วเราทำอย่างไรถึงจะดี จึงจะงาม อย่างที่ท่านดี ทำงาม เราควรป้องกันอย่างไรดี จึงจะไม่เป็นไปอย่างที่ท่านเผลอเรอ ท่านที่ไม่มีสติกระทำ ซึ่งเราไม่ชอบไม่พอใจ เราหาทางป้องกันอย่างไรจึงจะพ้น ในเบื้องต้นเราก็ต้องฝึกกันอยู่อย่างนี้แหละ ตลอดจนถึงการจะพูดออกมาคำหนึ่งก็ดี อะไรเหล่านี้ เราหัดระลึกถึงคำที่เราพูด พูดอะไร อะไรทำให้พูด พูดกับคนชนิดไหน พูดอย่างไรจึงจะรู้เรื่องกัน เวลานี้เขาแสดงท่าทีกับเราอย่างไร เมื่อเขาเป็นศัตรูเราพยายามจะพูดอย่างไรให้ศัตรูนี้กลายมาเป็นมิตร อะไรทำนองนี้ จะได้หาวิธีดำเนินให้ถูกต้อง ให้เป็น ไปเพื่อผลประโยชน์ฝ่ายเดียวไม่มีโทษ หมายความว่าเราจะทำตัวของเราให้มีค่า หรือมีคุณค่าแก่คนทั่วไป ไม่ให้มีโทษ เราจะทำอย่างไรในเบื้องต้น เราก็ต้อง ฝึกกันอยู่อย่างนี้ไปเรื่อยๆ จนชำนาญดีเรียบร้อยดีแล้ว ต่อไปก็ไม่สู้จะลำบาก เพียงแต่มีสติคอยจับรู้ให้สมบูรณ์ คือ สติเต็มที่พอรับรู้การระลึก การแต่ง การวาง คล้ายกับเป็นเพียงการรับรู้เท่านั้น ไม่ต้องนึกไม่ต้องสอดเข้าไปหาเรื่องอะไร ให้มันมาช่วยปรับปรุงคล้ายกับว่ามันเป็นไปเอง มันปรับปรุงกันเอง ทางที่ดี ทางที่ชั่ว คืออย่างไร ใครทำไม่ดีตรงไหน เมื่อไร เราระลึกได้หมด อาการการเคลื่อนไหวของเราทั้งหมดคล้ายกันกับว่าเขาช่วยประคอง ช่วยแต่งให้เราเอง โดยทำนองอย่างนี้พอมาขึ้นชั้นนี้มาเป็นอย่างนี้ไปเสียแล้ว เพราะฉะนั้น ในเบื้องต้นเราก็ต้องอดทนหน่อย ต้องพยายามหัดระลึกเสมอๆ เหตุการณ์เหล่านี้เรียกว่า เป็นส่วนภายนอกอันดับที่หนึ่ง

          ทีนี้ ส่วนภายนอกอันดับที่สองของการระลึกก็คือ หัดระลึกถึงวิบากกรรม กรรมวิบาก กรรม แปลว่า การกระทำ เขากระทำมาแล้วแต่ปุเรกชาติ กรรมส่วน นั้นจะมาจำแนกสัตว์และมนุษย์ให้เป็นไปตามอำนาจของกรรม ทั้งกรรมดี กรรมชั่ว ของบุคคลอื่น ตัวอย่างบุคคลที่มีความสุขสบาย บุคคลที่มีคสามทุกข์ เนื่องจากโภคทรัพย์สมบัติ บุคคลผู้ได้รับทุกข์เนื่องจากอวัยวะร่างกาย อะไรเหล่านี้เป็นต้น เมื่อเรามองเห็นแล้วทั้งความทุกข์และความสุขของผู้อื่น เราก็จะ มองเห็นได้ชัดประจักษ์ว่า เนื่องมาจากกรรมดีและกรรมชั่วไม่ได้เนื่องมาจากอะไรเลย กรรมดีและกรรมชั่วทั้งสองอย่างที่เขาได้ทำมาแล้วแต่ปุเรกชาติ กรรมนั้น ย่อมมีกำลังเหนือเขาย่อมมาจำแนกให้เขาเป็นไปตามอำนาจของกรรมดีก็ดี กรรมชั่วก็ดี ด้วยอำนาจของกรรม คนที่มีความสุข คนที่มีความทุกข์ ก็เนื่องด้วยอำนาจ ของกรรม การที่ให้หัดระลึกถึงอย่างนี้ ก็เพื่อประโยชน์จะให้เรากลัวต่อกรรมที่ไม่ดี ให้เราชอบแต่ในกรรมดี กรรมที่ไม่ดีเราจะได้ไม่กล้ากระทำ เนื่องจากอาศัย การระลึกถึงผลของบุคคลผู้เสวยวิบากกรรม เป็นเครื่องสกัดกั้นจิตของเราไม่ให้กล้าทำชั่ว ไม่กล้าพูดชั่ว ส่วนกรรมดีนั้นจะได้เป็นเครื่องช่วยที่จะทำให้ เราทำดี พูดดี มีกำลัที่จะบุกบั่นประกอบกรรมดีให้สำเร็จตามความปรารถนาได้อย่างนี้ นี่เป็นเรื่องของคนอื่น

          พูดถึงเรื่องของตัวเราเองก็จะมองเห็นได้ว่า ตามธรรมดาเราไม่ใช่ว่าจะดีทุกส่วน มันดีอย่างหนึ่งมันก็อาาจะมีเสียอย่างหนึ่ง เพราะว่าการกระทำดีนั้นไม่สม่ำเสมอ อาจจะมีความดีและความชั่วเจือปนอยู่ ความดีมีทางหนึ่ง ความชั่วก็อาจจะมีทางหนึ่ง ทั้งทางดีและทางชั่วที่ปรากฏก็เนื่องจากกรรมมันตืดตาม เพราะธรรมดา แล้วมันจะติดตามเรามาเบื้องหลัวเสมอๆ เมื่อกรรมดีตามมาถถึงก็ย่อมอำนวยผลให้เห็นว่าจะทำอะไรๆ ก็ตามรู้สึกว่าคล่องว่าสะดวกไปเสียทุกอย่าง ในเมื่ออกุศล กรรมบาปตามมาถึง จะทำอะไรก็ไม่สะดวกไม่สบายมีอุปสรรคขัดขวางไปเสียทุกสิ่งทุกอย่าง เราก็มองเห็นได้ชัดๆอยู่อย่างนี้ แม้แต่อัตภาพร่างกายของเรา ซึ่งเป็นเครื่องมือที่เราใช้นำไปประกอบสิ่งที่เราต้องการ ก็รู้สึกว่าขัดข้องไม่สะดวก อะไรเหล่านี้เป็นต้น เราก็มองเห็นได้ชัดว่า กรรมดีและกรรมชั่วย่อมติดตามเรา มาเสมอๆ ย่อมอำนวยผลแก่เราในเมื่อกรรมดีมาถึง ย่อมให้โทษทุกข์แก่เราในเมื่อกรรมชั่วมาถึง อะไรเหล่านี้ การระลึกถึงอย่างนี้ สมควรที่เราจะต้องระลึกถึง อยู่เสมอ เพราะว่าเราหัดระลึกถึงอยู่อย่างนี้เสมอๆ แล้ว จะเป็นเหตุไม่ให้เราทำความชั่วและพูดชั่วต่อไป จะเป็นรั้วกั้นได้อย่างดียิ่ง และกลับเป็นเครื่องส่งเสริม ให้เราทำความดีได้ พระพุทธเจ้าท่านทรงสอนให้เรามีสติระลึกถึงตัวเองและคนอื่นในเรื่องวิบากกรรมนี้อยู่เสมอๆ เรื่องเหล่านี้จัดว่าเป็นเรื่องภายนอกอันดับที่สอง เพราะว่าการระลึกนี้เรียกว่า สติ คือการระลึกถึงความดีและความชั่วของตนและคนอื่น ซึ่งเป็นกรรมในชาติปัจจุบัน อดีตคืออดีตในชาติปัจจุบัน และกรรม ที่เป็นกรรมในอดีต ซึ่งเป็นปุเรกชาติกรรมเอาเข้ามาประกอบ เพื่อจะต้องการส่งเสริมจะให้ทำความดี กล้าทำความดี กล้าพูด เอามาปกป้องไม่ให้พูดชั่ว ทำชั่ว เหล่านี้เป็นต้น

          ทีนี้ ถ้าเรามีอุบายวิธีสร้างสติให้สูงขึ้น เพื่อต้องการส่งเสริมสิ่งที่ควรส่งเสริม และป้องกันในสิ่งที่ควรป้องกันอย่างนี้ จิตของเราก็จะได้ก้าวเจริญสูง ขึ้นเป็นลำดับ ก็เรียกว่า เป็นผู้มีสติอันสมบูรณ์ ตลอดอาการเคลื่อนไหวของกายทั้งหมดไม่เผลอเรอ มีสติระลึกรู้อยู่เสมอ จับรู้อยู่เสมอ ทั้งของคนอื่น และของตัวเองดังกล่าว ตัวเองก็ได้แก่ การจับของที่เราเผลอสติ มันไม่ดีอย่างไรเราก็มองเห็น เมื่อเวลาที่เรามีสติมันดีอย่างไร บทบาทชั้นเชิงทั้งหมด ที่เรามี สติจับรู้อยู่ตลอกเวลาที่เราแสดงนั้น มันดีอย่างไรบ้าง คนอื่นมองเห็นจะเป็นอย่างไร เราระลึกถึงอาการของเราและคำที่เราพูดทั้งหมด ขณะที่เรา มีสติประคองรับรู้อยู่นั้น จะรู้สึกว่าอย่างไรบ้าง เราก็หัดระลึกให้มาก ทีนี้ส่วนของคนอื่นเขาหยิบของ วางของไม่ดี เป็นอย่างไร เขานั่งไม่ดีเป็นอย่างไร เขาพูดไม่ดีเป็นอย่างไร เนื่องมาจากการเผลอสติ หรือลุอำนาจฝ่ายต่ำ อะไรเหล่านี้เป็นต้น สิ่งทั้งหมดนี้ก็จุดนัยเดียวกัน คือ การระลึกรู้ก็มุ่งต้องการเอา มาป้องกันไม่ให้กล้าทำชั่ว พูดชั่ว อาการเคลื่อนไหวทั้งหมดจะได้มีสติจับรู้ ระลึกอยู่เสมอทั้งหมด และจะได้แต่งให้ถูกตามสิ่งที่เราชอบ ต่อจากนี้ไป เมื่อเรา ทำทางนี้ให้เจริญขึ้น ดีขึ้นๆเป็นลำดับ ก็เป็นอันว่าจะเนื่องเข้าไปถึงจิตเหมือนกัน เรื่องจิตของเราก็เหมือนกัน เรื่องการคอดของจิตที่มันคิดไปนั้น เมื่อตัวนี้ ดีแล้ว ตัวข้างหน้า การฝึกของเราก็จะง่ายเข้าเป็นลำดับ เพราะว่าเมื่อจิตส่ายแส่ไปต่ออารมณ์ เราก็พยายามนึกเอาไว้ว่า นี่เป็นการต่อถพของจิต เราอย่าส่งเสริม พยายามตัดกระแสหักห้าม อย่าให้จิตนึกคิดไปได้เด็ดขาด และพยายามตัดกระแสให้ได้อยู่เสมออย่างนี้ ตามธรรมดาจิตของเรากับธัมมารมณ์มันเป็นของคู่กัน ธัมมารมณ์ กับ อารมณ์ ก็คือ ควาามคิด คือจิตของเราคิดไปนั่นเอง มันคิดไปทั้งทางดีทางชั่วเป็นคู่กันอยู่ เมื่อไปในทางชั่วก็มีเหตุให้เป็นไปในทางเศร้าหมอง เป็นเหตุให้ทุกข์ เมื่อคิดไปในทางที่ดีก็มีเหตุให้เป็นไปในทางสะอาดหมดจด นำมาซึ่งความสุข เราก็มองเห็นได้ชัดประจักษ์ ในเบื้องต้นนี้เราอยู่ในกระแส กามาวจร เราก็พยายามตัดกระแสแห่งทุกข์หรือติดประแสแห่งการเป็นไปเพื่อบาป พยายามบำรุงไว้ในแนวคิดที่เป็นไปเพื่อบุญ อย่างนี้เรียกว่า ผู้บำรุง ในกุศลจิตเจตนาทางกามาวจร เมื่อเราพยายามตัดกระแสในทางที่ชั่ว ไม่ยอมให้เป็นไปโดยเด็ดขาด ให้มันพอใจแต่แนวคิดที่ดี พอใจในทางที่ดี ทางไม่ดีไม่ ยอมให้คิดเป็นเด็ดขาด พยายามหักห้ามทำลายอยู่อย่างนี้เสมอๆแล้ว ก็เรียกว่าเป็นผู้ถึงซึ่ง "เอกัคคธรรม" คือสิ่งที่เป็นบุญ บำรุงไว้ซึ่งอารมณ์ ในส่วน กุศลที่เจตนาในทางกามาวจรแล้วโดยสมบูรณ์ ก็เรียกว่าเป็นผู้มีทางที่จะงอกงามเจริญขึ้นตามลำดับ อันความสุขนี้แหละจะบำรุงให้เกิดปัสสัทธิแห่งกายและจิต แล้วกายและจิตก็มีทางที่จะก้าวเข้าไปสู่สมาธิชั้นละเอียดต่อไปได้

          ทีนี้ มาอธิบายเบื้องต้นต่อไปอีกเป็นรอบที่สอง การระลึกซึ่งอธิบายให้ฟังไปแล้วนั้น ส่งที่เราพิจารณาก็ย่อมมีอยู่อย่างนี้ คือ การระลึกในกาย ท่านเรียกว่า "กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน" คำที่ว่า กายานุปัสสนาสติปัฏฐานนั้น คือมีสติระลึกรู้ในการเคลื่อนไหวของกายพร้องทั้งวาจาที่พูด สิ่งเหล่านี้เรียกว่าอาการที่รู้ ในการเคลื่อนไหว เราจะลุก จะนั่ง จะเดินเหินอยู่ ฉัน ลิ้มเลีย อะไรต่ออะไรต่างๆ ทั้งหมด เราไม่ได้ปล่อยไปโดยธรรมชาติ แม้แต่อาการหนึ่ง เราจะต้องมีสติ จับระลึกอยู่ทุกอาการ แต่การจับรู้อยู่เพียงแค่ทุกอาการนี้ ยังไม่พอกับความต้องการ เราจะต้องมีจำพวกเวทนาเป็นเครื่องประกอบด้วย คำที่ว่า เวทนานั้น หมายถึง ความเสวย ความเสวยอันมีค่าหมายถึงเฉพาะเราเองผู้ทำ เราเองผู้พูด สิ่งที่เป็นอ่นิสงส์นั้นปรากฏขึ้น เรียกว่าการเสวย เมื่อทำความดี เมื่อพูดดี อานิสงส์ที่เสวยก็คือ ความสุข เรียกว่าผู้เสวย เรากระทำไม่ดี พูดไม่ดี อานิสงส์ที่เสวยก็คือ ความทุกข์ นี้เป็นอานิสงส์ของเรา ส่วนของคนอื่น เมื่อเขาพูดไม่ดี ทำไม่ดี เขาก็ไม่มีความสุขเหมือนกัน เมื่อเขาพูดดี เขาทำดี เขาก็มีความสุข เพราะฉะนั้น การที่แสดงทั้งด้วยกายและวาจาที่แสดงออกมานั้น มีเวทนาเป็นเครื่อง เสวยสุขกับทุกข์เป็นอานิสงส์อยู่อย่างนี้ ท่านเรียกว่าเวทนาคู่กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน มีเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐานเป็นเครื่องพิสูจน์ เวทนาอันนี้มีค่า พูดกัน แต่สุขกับทุกข์ ทุกข์เราไม่ต้องการ เมื่อเราต้องการในทางที่เป็นสุข เหตุที่จะให้เกิดสุขสำหรับส่วนตัวนั้นก็คือ การทำดี การพูดดี ของคนอื่นก็เช่นเดียวกัน คือการทำดี การพูดดีของเขา สรุปแล้วได้ความอย่างง่ายดายที่สุดว่าการพูดดี การทำดี นั่นแหละทำให้มีความสุข ในทางสุข เรียกว่า สุขเวทนา มีความสุขทั้ง กายและจิตด้วย เป็นของคู่กัน เมือเรารู้อย่างนี้แล้วเราก็จะมองเห็นเข้าไปอีกว่าคำที่ว่าไม่ดีนั้นเป็นอย่างไร เราเองก็รู้ได้ดี ไม่ดีเราก็รู้ สิ่งที่ดีเราก็ชอบ สิ่งที่ ไม่ดีเราก็ไม่ชอบ คนที่แสดงบทบาทชั้นเชิงจะลุกขึ้น นั่งลง ทุกสิ่งทุกอย่างที่เรามองเห็น สิ่งที่เราไม่ชอบเพราะเหตุไรเราก็มองเห็นได้ชัด ส่วนตัวของเรา เองที่ทำไปแล้วเป็นอย่างไร คนที่ทำไปแล้วเป็นอย่างไรเราก็รู้ เมื่อเรารู้อย่างนี้แล้วเราจะได้พยายามไห้ถูกจุดที่เราต้องการมันเป็นอย่างนี้ อธิบายซ้ำเป็นรอบ ที่สองเราเรียกว่า กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน กับ เวทนา สิ่งที่ต้องระลึกเป็นคู่กันในสิ่งที่จะให้คุณค่าสูงขึ้น

          ต่อจากนี้ไป จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐานพร้อมด้วยธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน จิต หมายถึง ความระลึกรู้ ทั้งทางดีและทางชั่ว จิตนารับรู้ถึงทางดีและทางชั่ว ดีก็รู้ชั่วก็รู้ ที่รุนี่แหละเรียกว่าจิต จิตหรือวิญญาณก็เป็นอันเดียวกัน เมื่อตาเห็นรูป รู้ดีชั่ว ชั่วดี สวยไม่สวย รักไม่รัก สิ่งเหล่านี้มาจากจิต หูได้ฟังเสียงก็เหมือนกัน จมูกได้สูดกลิ่นก็เหมือนกัน ลิ้นได้ลิ้มรสก็เหมือนกัน กายถูกต้องสัมผัสก็เช่นเดียวกัน ในสิ่งที่ต่เนื่องมาทางญาณประสาททั้งหลายเหล่านี้ เรียกว่า วิญญาณ มันต่อเข้ามาถึงใจ เป็นเหตุให้พอใจกับไม่พอใจเกิดขึ้น สิ่งเหล่านี้เรียกว่าจิตตัวหนึ่งตัวที่รับรู้เรียกว่า จิตตัวที่พอใจไม่พอใจ เรียกว่าจิต คำที่ว่า จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน นั้น ท่านให้มีสติระลึกรู้ในอาการเคลื่อนไหวของจิต คำที่ว่าเคลื่อนไหวนั้น หมายถึง จิตเคลื่อนไหวเข้าไปต่ออารมณ์ หรือสิ่งกระทบ พูดอย่างง่ายที่สุดคือ ความรู้สึกนึกคิดต่อสิ่งกระทบ สิ่งที่น่ารัก สิ่งที่น่าชัง ต้องการ ไม่ต้องการ ความรู้สึกนึกคิดต่อสิ่งกระทบให้ระลึกรู้อยู่ในสิ่งนั้น ส่วน ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ธรรม มีบาปบุญ ไม่บาปไม่บุญ กลางๆก็เหมือนกัน อย่างเดียวกันดังที่ได้อธิบายไว้ในเบื้องต้น เพราะแนวคิดจะเป็นไปเพื่อรัก เพื่อชัง ต้องการหรือไม่ต้องการ เรามองเห็นได้ชัดประจักษ์ว่า มันมีบาปกับบุญเจือปนกันอยู่ เมื่อชังไม่ตอ้งการ อยากด่า อยากตี อยากฆ่าทิ้งเสีย มันก็เกิดความเศร้าหมอง เป็นทุกข์ เรียกว่าบาป หรือมีความเมตตาอารีในบุคคลนี้ ซึ่งเขาแสดงกริยาอย่างนี้น่าสงสารและเมตตา ต้องการอยากจะสงเคราะห์สงหาด้วยปัจจยามิส ส่วนใดก็แล้วแต่ในส่วนนี้ ก็เรียกว่าบุญมันเกิดขึ้น หรือมองเห็นพระภิกษุสมาเณร และท่านผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบเราต้องการอยากจะทำการบูชาหรือทำทานกับท่านเหล่านั้น เป็นต้น เป็นเหตุให้เกิดซึ่งบุญ นั้นเป็นธัมมารมณ์ที่มันเป็นไปในทางบุญและบาป ท่านเรียกว่า ธัมมารมณ์ เพราะฉะนั้น เราก็ต้องดู เมื่อจิตเรารัก เมื่อจิตเราชัง เรื่องเรา อยู่ในกามาวจร มันมีรักกับชังคู่กันอย่างรุนแรง ไม่รักก็ชัง ไม่ชังก็รัก เรื่องเฉยมีบ้างแต่น้อยรักชังๆ นี้มากในสิ่งกระทบ เพราะฉะนั้น เรื่งอรักเรื่องชังนี้ เราต้องมีสติเรียกว่า สติปัฏฐาน ให้มีสติเป็นฐานรองรับรู้อยูเสมอ คือ รับรู้อยู่ที่จิต เมื่อจิตจะรักก็ให้สติผลักดันไว้อย่าให้รัก เมื่อจิตชังก็ให้มีสติผลักดันไว้ อย่าให้ชัง เมื่อไม่รักไม่ชังคอยผลักดันเอาไว้แล้ว ประเดี๋ยวจะมีปัญญาโผล่ขึ้นมาเอง สมมติอย่างเขาด่าเรา มันเกิดชังมันอยากจะด่าเขาบ้าง แต่เราพยายาม กดพุบเอาไว้ หรือคลายกับกลืนเอาไว้ทำนองนี้ พอสติผลักดันไว้สักพักหนึ่งมันจะเปลี่ยนความรู้สึกขึ้นมาทันทีเพราะมันกลัว เมื่อมันกลัวมันก็จะเกิดความรู้ สึกขึ้นมาทันที เปรียบเหมือนคนที่จองหอง เมื่อมันจองหองกับเรา สมมติว่าเรามีกำลังชนิดหนึ่งเหนือกว่า เราตีเอาหรือจับฆ่า จับคอกระแทกเอา เมื่ออยู่ ในกำมือเราแล้วมันทำท่าจะต่อยเรา แต่แล้วภายหลังมันจะยกมือไหว้เรา ฉันใดก็ดี จิตมันมีกำลังพุ่งไปต่อเหตุการณ์นั้นๆ ให้เป็นไปตามเรื่องของมัน เมื่อกำลัง ของสติเหนือจิตผลักคอตูม มันไม่มีกำลังเข้าไปต่อเหตุการณ์นั้นๆ ได้โดยอำนาจหรือกำลังของมัน ผลสุดท้ายเมื่อผลักมันลงไปแล้วสักครู่มันจะโผล่ขึ้นมา คล้ายกับว่ามันยอม เมื่อมันยอมแล้วก็คล้านกันกับว่าเหตุผล หรือความรู้สึกนึกคิดที่มันมีขึ้นมาใหม่ มันเป็นกำลังของปัญญา มันเปลี่ยนหน้าคำพูดของเรา แทนที่จะพูดรุนแรงกลับกลายเป็นคำพูดที่อ่อนหวานขึ้นมาแทน มันแต่งให้เรียบร้อย รู้สึกว่าดีมาก เพราะว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่มากระทบนั้นมันเป็นไปในทางรัก เป็นไปในทางชังก็ดีจิตมันจะพุ่งไปต่อเหตุการณ์เหล่านั้นตามโครงการของเรื่องหรือของเหตุการณ์นั้นๆ ก็ต้องอาศัยกำลังของสติตัวนี้ผลักไว้เสมอ พยายามผลักไว้ให้แข็งแรง อย่าให้พุ่งไปได้ แล้วรอสังเกตว่าเราจะทำอย่างไรดี ดูให้ดีๆมันจะมีปัญญาโผล่ขึ้นมาเอง ว่าเราควรจะเอาอย่างนี้ เราก็ดำเนินตาม นี่เป็นอย่างนี้ เพราะฉะนั้น เรื่องจิตคือตัวรับรู้ในทางดรและทางชั่ว คือความรู้สึกนึกคิดต่อสิ่งกระทบ สิ่งกระทบจะเป็นปัจจุบันที่ปรากฏอยู่ ณ ปัจจุบัน ก็ตาม บางครั้งมันก็พุ่งต่อเหตุการณ์เฉพาะ บางครั้งมันก็วิ่งกลับหลังไปสู่อารมณ์ที่ผ่านมาแล้วในทางที่ดีและในทางที่ชั่วนั่นเอง ตัวนี้แหละคือตัวของมัน

          เพราะฉะนั้น เรื่องจิตก็มี ธัมมารมณ์ คือ บาป บุญ เฉยๆ เป็นคู่กัน เราต้องมีสติหักห้ามในเมื่อจิตของเราเล็ดลอดออกไป เพราะว่าเมื่อจิตของเรามีเหตุการณ์เกิด ขึ้นมันก็พุ่งต่อ นั้นเรียกว่าต่อภพปัจจุบันต่อหน้า เมื่อมันเล็ดลอดออกไปต่ออารมณ์ที่ผ่านมาแล้ว ตั้งแต่อดีตในชาติปัจจุบันนี้แหละ แต่มันอดีตไกล ตั้งแต่เมื่อวาน วานซืน หรือปีกลายอะไรเหล่านี้เป็นต้น มันก็เป็นส่วนอดีตไกลในชาติปัจจุบัน จิตที่คิดหรือเคลื่อนไหวไปต่อแบบนี้ เรียกว่า ภพ การต่อภพชาติของจิต มันเชื่อมโยงต่อภพชาติ เราผู้บำเพ็ญต้องการถึงโลกุตตระ คือ ถึงนิพพานตอ้งอาศัยสติตัวนี้เข้าไปตัดหรือหักห้าม อย่าให้จิตของเราต่อไปเป็นอันขาด พยายามทำลายเอาไว้ เมื่อรเสามารถกด หรือบังคับจิตของเรานี้ให้อยู่ในอำนาจของตปธรรมตัวสั่ง ตัวห้าม ตัวแผดเผา ตัวบังคับ ได้ตามปรารถนาแล้ว เมื่อจิตไม่งอแงแล้ว ต่อจากนี้ไปจะมีความรู้วิเศษสูงๆขึ้น เป็นอานิสงส์ ผลสุดท้ายก็รู้จริงตามสภาพความเป็นจริงว่า สิ่งทั้งปวงนี้มันเป็นมาอย่างไร อะไร เป็นตัวนำพา จิตของเราได้รับบัญชามาจากตัวไหน ใครเป็นผู้บัญชาอยู่ภายใน จะมองเห็นหน้าตามันได้ชัด ผลสุดท้ายเมื่อพยายามกำจัดพวกเหล่านั้นออก ให้จิตของเราไม่มีสิ่งใดเป็นเครื่องตัวนำแล้ว ก็เรียกว่าจิตที่ไม่มีพิษอันร้ายบังคับให้เพ้อหรือรุนแรงไป ก็เรียกว่าจิตที่ไม่มีเพื่อน เป็นจิตที่สงบราบคาบ ต่อจากนั้นไปจะได้ความรู้อันวิเศษจากจิต เราจะเอาอย่างไรเมื่อเราต้องการแล้ว เราจะเรียนความรู้จากจิตไม่มีวันที่สิ้นสุด อยากจะรู้เรื่องอะไร (อดีต อนาคต, อตีตังสญาณ อนาคตังสญาณ)

          เพราะฉะนั้น พวกเราผู้บำเพ็ญอยากจะมีวิชาดี อยากจะได้ความรู้วิเศษจากจิตพวกเราก็ต้องทำอย่างนี้ นี้เป็นภาคสติปัฏฐานสูตร มี กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ซึ่งเป็นสายทางที่พวกเราดำเนินอยู่ ณ ปัจจุบันนี้ เมื่อพวกเรากระทำได้อย่าง นี้อยู่เสมอๆ รับรองว่า เรื่องภพชาติของจิตที่มันต่อกันอยู่ ซึ่งเป็นสาเหตุแห่งภพทั้งปวงนี้ พวกเราต้องมีหวังทำลายได้ พวกเราต้องหวังว่า เมื่อทำลายภพชาติได้แล้ว อาสวกิเลส เครื่องดองทั้งหมดจะไม่มีพิษทำให้จิตฟุ้งหรือรุนแรง เรียกว่าจิตที่อ่อนกำลังลง เนื่องจากว่าอาศัยกำลังตปธรรมเป็นตัวบังคับ ไม่ให้มีพลังสูง เหนือกว่าแล้วสามารถเข้าไปเขี่ย หรือกำจัดสิ่งที่เป็นกำลังนั้นออกไปแล้ว ก็เรียกว่าจิตที่ถึงซึ่ง "มหาสติ" คือจิตที่สงบระงับ เมื่อจิตนั้นสงบไม่มีพิษแล้ว เป็นจิตที่ชำระดีแล้ว เป็นจิตที่บริสุทธิ์ผุดผ่อง จิตนั้นก็สามารถสมควรแก่ "นิพพาน" ถ้าพวกเราต้องการก็ขอให้พยายามตั้งอกตั้งใจประพฤติปฏิบัติ แล้วพวกเราก็จะได้สมความมุ่งมาดปรารถนา อธิบายมาก็ยืดยาว ขอยุติพียงแค่นี้