พระธรรมเทศนา วิธีทดสอบสติ .

วิธีทดสอบสติ .

          วันนี้จะได้เล่าถึงวิธีหรือการทดสอบสติที่พวกเราสร้างกันมา ว่ากำลังของสติที่พวกเราสร้างนี้ พอที่จะใช้ประโยชน์ได้แล้วหรือยัง พร้อมทั้งลักษณะของอารมณ์ว่ามีอย่างไรบ้างจะนำมาเล่าสู่กันฟัง เพื่อเป็นเครื่องประกอบที่พวกเราจะได้ดำเนินต่อไป สติที่พวกเราฝึกฝนมานี้ เครื่องทดลอง วิธีทดลอง มีอยู่หลายอย่าง เราจะเอาทดลองทางภายนอกก็ได้ ทดลองทางภายในก็ได้ ทีนี้จะให้วิธีทดลองสติ เป็นส่วนภายใน สำหรับภายนอกวิธีการสร้างสตินั้น ได้อธิบายสู่กันฟังแล้ว

          วิธีทดสอบอารมณ์เป็นส่วนภายใน คือว่าอารมณ์ก็คือความคิด ความคิดนั้นก็คืออารมณ์ คำที่ว่าอารมณ์นี้เป็นภาษาบาลี เป็นภาษาธรรมะ ความคิดมัน เป็นภาษาไทยเรา แต่ที่แท้จริงมันก็เป็นอันเดียวกัน ความคิดที่ดีเรียกว่าอารมณ์ที่ดี ความคิดที่ไม่ดีก็คืออารมณ์ที่ไม่ดี ความคิดที่ดีเมื่อคิดไปแล้วก็ให้ความสุข ในเมื่อเราพิจารณาถึงความคิดของตัวเราเอง ความคิดที่ไม่ดีกำลังคิดอยู่มันก็ไม่มีความสุข เมื่อคิดไปแล้วเรามานึกถึงความคิดของตัวเองภายหลังก็ไม่ มีความสุข ความคิดเป็นตัวนำพา จะเป็นไปในทางกิเลสตัณหา มันก็อยู่ที่ความคิด จะเป็นไปในทางมรรคผล มันก็อยู่ที่ความคิด

          เพราะฉะนั้น พวกเราทุกท่านได้เข้าใจกันอยู่แล้วว่า ความคิดเป็นตัวนำพาจิตใจของพวกเราให้ประหวัด และเป็นไปในอาการกิเลสก็ดี ตัณหาก็ดี ภพชาติ ก็ดี มันก็อยู่ที่ความคิดเหมือนกัน สำหรับกิเลสหรือตัณหามันเป็นเพียงสมมติ เพื่อต้องการอยากจะให้พวกเราทุกท่านได้เข้าใจว่าคิดอย่างนี้เป็นกิเลส คิด อย่างนี้เป็นตัณหา คิดอย่างนี้เป็นภพเป็นชาติ คิดอย่างนี้เป็นไปเพื่อการหลุดพ้นจากภพชาติ

          สมมตินี้จะยกรูปเปรียบให้เห็นง่ายๆ อย่างกายของพวกเราได้สมมติว่า นี่เป็นแขนนี่เป็นขา นี่เป็นตา นี่เป็นหู นี่เป็นจมูก รวมความแล้วนั่นคือ กายของเรา นี้เอง ฉันใดก็ดี อันนี้กิเลส อันนี้ตัณหา อาการอย่างนี้เป็นภพ รวมความนั้นคือความคิดนั้นเอง ความคิดที่มีความทะยานอยากในสิ่งต่างๆ ท่านก็เรียกว่า ตัณหา สมมติเราอยากในส่วนกาม ก็เรียกว่ากิเลสกาม เราอยากทางวัตถุก็เรียกว่า กิเลสที่เป็นไปในทางวัตถุหรือกามที่เป็นไปในทางวัตถุ ส่วนนี้เป็นส่วน กามตัณหา แยกออกเป็น 2 นัย ส่วนภวตัณหา เราอยากดี อยากเด่น อยากมียศถาบรรดาศักดิ์ อะไรต่างๆเหล่านี้ ความอยากชนิดนี้ท่านเรียกว่าเป็น ภวตัณหา หรือเราต้องการสิ่งนี้แต่เราไม่สามารถจะเอามาได้ เกิดท้อใจ น้อยใจ กลุ้มใจ อะไรเหล่านี้มันเป็นหลัก วิภวตัณหา ตัณหาทั้งหลายก็ดี กิเลสก็ดี รวมความ แล้วก็ได้แก่ ความคิดของเรา ที่ประหวัดไปตามอาการอย่างนี้ก็สมมติว่าอย่างนี้ๆ

          ทีนี้ พวกเราผู้ที่ต้องการจะบำเพ็ญประพฤติปฏิบัติตปธรรมในทางพระพุทธศาสนานี้ก็ต้องจะปรับปรุงจิตใจของตนเองให้เป็นไปในทางดี เพราะเหตุนั้น พวกเราทุกท่านจึงได้หาช่องทางสร้างกำลังของตปธรรมคือ ตัวคุ้มครองนี้เข้ามาปกป้องจิต และหาช่องทางปรับปรุงจิตของเราโดยอุบายวิธีนำอารมณ์ที่ดี ที่เป็นไปเพื่อมรรคผล เข้ามาหล่อเลี้ยงจิตของพวกเราเพื่อต้องการจะให้จิตของเรามีพลัง หรือให้จิตของเราคุ้นเคยต่อความคิดหรือต่ออารมณ์ที่ดี เพราะ ฉะนั้น พวกเราที่สุ่งหวังจะดำเนินนี้ จึงอยากจะขอร้องให้พวกเราทุกท่านสร้างกำลังตปธรรม คือ สติ ดังกล่าวมาแล้วโดยธรรมชาติกางกั้นจิตของเราไม่ ให้ก้าวไปสู่อารมณ์ คอืความคิดนั้นโดยธรรมชาติ โดยไม่มีสิ่งใดเข้าไปกางกั้น โดยไม่มีสิ่งใดเข้าไปพิสูจน์ผลเสียผลได้ ตลอดจนความเศร้าหมองหรือความ สะอาดหมดจดนี้ ทีนี้พวกเราต้องการสร้างกำลังเข้าไปกั้นและพิสูจน์ความจริงในเมื่อจิตก้าวและดำเนินเข้าไปสู่อารมณ์ คือ ความคิดชนิดนั้น สิ่งที่พวกเราทุก ท่านจะต้องสร้างเพื่อเข้าไปต่อสู้ในเบื้องต้นของเราก็คือ สติ การทดสอบสติที่เราสร้างขึ้นมา ดังอธิบายสู่กันฟังแล้วใน 2 กัณฑ์ต้น
การทดสอบสติมีอยู่ 3 จังหวะ
จังหวะที่ 1 ได้แก่ สติการที่ 1
จังหวะที่ 2 ได้แก่ สติการที่ 2
จังหวะที่ 3 ได้แก่ สติการที่ 3

วิธีทดสอบสติมีอยู่อย่างนี้.
          การทดสอบนั้นเราผู้บำเพ็ญต้องการจะเอากำลังส่วนนี้เข้าไปยับนั้งความคิด เราก็ต้องทดสอบกับความคิดของเรา เมื่อจิตของเราประหวัดไปสู่อารมณ์ สัญญา หรือกลับไปสู่บ้านของเรา คิดอย่างที่เราเคยคิดมา หรือสงสัยในสิ่งที่เราทำอะไรไว้เหล่านี้ ในเมื่อจิตของพวกเราประหวัดไป เราระลึกรู้เมื่อเราระลึกรู้ เรรไม่ยอมให้มันไป แล้วกลับมากำหนดในจุดที่พวกเราทำเป็นนิมิตเครื่องหมาย มีลมหยาใจเข้าออกก็ดี หรือคำบริกรรมก็ดี หรือจะเอาสัมผัสในระหว่างการก้าวขา เมื่อเดินจงกรมอยู่ก็ดี เราก็กลับเข้าสู่จุดทันทีโดยไม่ส่งเสริมเลย เมื่อจิตของเราประหวัดไปอีก เราระลึกรู้เราก็หาช่องทางมาดำเนินอยู่อย่างนี้เสมอๆ เมื่อบุคคลผู้ ทำได้อย่างนี้โดยไม่ส่งเสริมมันเลย เรียกว่าเป็นผู้มีสติการที่ 1
          สำหรับสติการที่ 2 เมื่อจิตของเราลุกเข้าไปต่ออารมณ์คือ ความคิดที่มันคิดไปนั้นเอง เราระลึกรู้ปั๊บ เรามีอุบายเข้าหาแก้ว่า อาการที่เป็นไปอย่างนั้นมัน จะให้เราได้รับทุกข์โทษอย่างนี้ๆ เป็นเหตุที่จะให้เรามีชาติ มีความเกิดปรากฏอยู่ ณ เบื้องหน้า เมื่อชาติความเกิดของพวกเราปรากฏแล้ว อันความทุกข์ทั้งหลาย จำเป็นทีเดียว เราจะต้องรับแบกสิ่งต่างๆทั้งปวง อย่างที่เรารับแบกอยู่ ณ ปัจจุบันนี้ เราต้องเป็นผู้รับเพราะเรายอมให้จิตของเราสืบต่อภพ คือ การเกิดนี้ไว้ เมื่อเราหาอุบายมาสอนมันและให้มันเห็นโทษของการเกิดพร้อมทั้งความเป็นอยู่ เต็มไปด้วยความทุกข์เหล่านี้ เมื่อจิตของเรามันกลัวต่อชาติหรือเหตุการณ์ต่างๆ อย่างที่พวกเราทุกท่านได้รับอยู่ ณ ปัจจุบันนี้ก็วางอาการที่ระลึกรู้ในจิตเมื่อจิตจรเข้าไปสู่อารมณ์ เมื่อมันคิดประหวัดไป พร้อมทั้งอุบายอย่างนี้โดยไม่มีการส่งเสริม และจิตยอมจำนนต่ออุบายอย่างนี้ก็เลยหยุดวาง อาการที่ทำได้อย่างนี้เรียกว่า ผู้ถึงซึ่งสติการที่ 2
          บุคคลผู้ถึงซึ่งสติการที่ 3 นั้นคือ เมื่อจิตลุกต่ออารมณ์ปุ๊บ ล็อคได้ทันที ระลึกได้ทันที เมื่อมันลุกเข้าไปสู้อารมณ์ก็ล็อคและลุกได้ทันที รับกันไว้ได้ทัน ไม่มี ทางใดที่จิตประหวัดเข้าสู่อารมณ์ได้ความรู้ที่เราหาอุบายวิธีเข้ามาแก้ไขนั้น จิตของเราไม่ได้ประหวัดออกไปข้างนอก เราใช้ความคิดวิจารณ์ส่วนภายในแล้ว จิตก็ยอมจำนนอุบายที่เราคิดโดยไม่ต้องประหวัดไปหาอุบายในทางอื่นเข้ามาแก้ไขได้ มันสามารถยอมลงไปได้ในเมื่อเราทำได้อย่างนี้เรียกว่า ผู้ถึงซึ่งสติการที่ 3

          ส่วนมหาสตินั้น เมื่อจิตประหวัดจะก้าวเข้าสู่อารมณ์คือ ความเกิดพอระลึกปั๊บจิตยอมทันที ไม่มีความสามารถใดที่จิตจะเหนืออำนาจของพลังสติที่เราสร้าง ขึ้นมาได้ สติที่สร้างแก่กล้าสามารถล็อคจิตให้อยู่ด้วยพลังของมันเองได้อย่างนี้เรียกว่า ผู้ถึงซึ่งมหาสติ อาการที่ล็อคไม่ได้ล็อคโดยธรรมชาติ ย่อมมีความรู้ อย่างที่เล่าสู่ฟังว่ามองเห็นไฟ โทษคุณของไฟมีแค่ไหน ผู้รู้ได้ชัด ย่อมไม่มีความสามารถเอื้อมมือไปจับไฟฉันใด อาการความรู้ว่องไวเฉียบแหลมประกอบขึ้นมา เพื่อเป็นเครื่องป้องกันช่วยเหลือกำลังของสติอย่างนี้จึงเรียกว่า ผู้ถึงซึ่งมหาสติแท้ เพราะเหตุนั้นพวกเราผู้ที่เอากำลังของสติที่สร้างสมอบรมขึ้นมาทดสอบใน เรื่องการประหวัดคือ คิดไปของอารมณ์อย่างนี้ใกล้ต่อความจริง เพราะว่ากำลังของสติ จุดมุ่งประสงค์ของการสร้างสตินั้น ก็เพื่อต้องการจะเอาเข้ามายั้บยั้ง จิตของพากเราและเข้ามาพิสูจน์เหตุผลของอารมณ์ ว่าจิตของเราเมื่อประหวัดไปอย่างนี้ มันทำให้เศร้าหมองอย่างไรบ้าง เมื่อประหวัดไปอย่างนี้ มันจะก้าวเข้า ไปสู่ความสะอาดความหมดจดอย่างใดบ้าง เมื่อพิสูจน์แล้วจะได้สั่งจิต ในเมื่อประหวัดไปแล้วมันเป็นโทษทุกข์ คือเป็นไปเพื่อภพชาติ แล้วจะได้นำพาจิตเข้าไปสู่ ชองทางที่เป็นไปเพื่อมรรคผลไปเสียจากภพชาติ จุดประสงค์ของพวกเราที่สร้างมาก็ต้องการเอากำลังของส่วนนี้มาประกอบอย่างนี้
          เพราะเหตุนั้น พวกเราทุกท่านจงพากันหาช่องทางทดสอบและทดลองสติของพวกเราด้วยอาการอย่างนี้ เมื่อสมควรพอที่จะเอามาใช้งานได้แล้ว พวกเราก็ ขอให้เอากำลังส่วนนี้เข้ามารั้งจิตของพวกเราอย่าให้ก้าวก่ายเข้าไปสู่ภพโดยปราศจากสิ่งที่เข้าไปบังคับหรือสิ่งที่พิสูจน์ความจริงของมันเลย ตามธรรมดาธรรมชาติ ตัวคุ้มครองอาจจะมีมากน้อยต่างกัน บางคนก็อาจจะมีมากหน่อย บางคนก็อาจจะมีน้อยหน่อย บางครั้งบางคราวก็อาจจะมีมาก บางครั้งบางคราวก็อาจจะมีน้อย พวกเราก็คงสังเกตได้จากภายในของพวกเรา บางครั้งบางคราวเราอาจจะพูดเพ้อเจ้อ หรือพูดไปโดยปราศจากสติ เมื่อพูดไปอย่างนั้นอาจจะผิดพลาด อาจจะ เป็นที่ไม่พอใจแก่ผู้ฟัง เมื่อเราเลิกจากสถานที่นั้นไปแล้ว เรานึกถึงคำพูดของเราที่พูดไปโดยปราศจากสติ เราก็อาจเสียใจในภายหลัง อาการที่เล่าสู่กันฟังก็เพื่อต้อง การจะให้เข้าใจว่า ในเมื่อขาดสติบางครั้งบางคราวเราก็มองเห็นโทษได้ชัดอย่างนี้ บางครั้งบางคราวก็มีสติสมบูรณ์ การพูดก็ไม่ได้ปล่อยไปโดยธรรมชาติ อาจสามารถ จะยับยั้งแบะพิจารณาหาเหตุผลเสียก่อนจึงจะพูด ตลอดบทบาททุกส่วนที่พวกเราแสดงออกมาทั้งหมดอาจจะมสติคุ้มครอง นี่แสดงให้เห็นว่าธรรมชาติมันมีอยู่แล้ว แต่มันไม่สม่ำเสมอ มันอาจแรงขึ้นมาเป็นบางครั้งคราว อาจอ่อนแรงลงไปเป็นครั้งคราว เพราะฉะนั้น พวกเราผู้บำเพ็ญต้องการอยากจะให้กำลังตัวคุ้มครองจิตนี้ เหนือกำลังตัวรุดเข้าไปสู่อารมณ์นั้นอยู่เสมอไม่ขาดสาย
          ทีนี้ กำลังตัวธรรมชาติที่เป็นตัวธรรมะนี้จะแยกสมมติออกมาเป็นส่วนๆความคิดที่ประหวัดไปสู่อารมณ์ ธรรมชาติชนิดนี้ได้แก่ กระแสการบัญชาของจิต ธรรมชาติที่เฉลียวถึงผลเสียผลได้ โทษ คุณ ในเมื่อประหวัดไปแล้วประกอบหรือพูดไปตามอาการประหวัดนี้ ว่าจะให้คุณโทษอย่างนี้ๆ ธรรมชาติตัวเฉลียวนี้แหละ เรียกว่า สติธรรมชาติตัวพิจารณาแล้ว ญัตติ สมควรหรือไม่สมควร ธรรมชาติชนิดนี้เรียกว่า ปัญญา นี่สมมติออกมาเป็นส่วนๆ

 

 


          ธรรมชาติตัวที่พวกเราจะสร้าง กำลังหรือพลังของมันให้สูงเพื่อเป็นการคุ้มกันนั้น ก็คือธรรมชาติตัวสติ คือตัวเฉลียวนั้นเป็นปฐมแล้วจึงจะสร้างกำลัง ของธรรมชาติตัวญัตติตัดสิน ซึ่งเป็นตัวปัญญานั้นต่อภายหลัง แต่แล้วในเมื่อเราสร้างกำลังตัวรั้งนี้เอาไว้ก่อนแล้ว ปัญญาตัวนั้นจะค่อยปรากฏขึ้นๆ เคียงคู่ กันมาเป็นลำดับ ต่อมาภายหลัง เราเห็นว่ากำลัลตังยั้บยั้งพอแล้ว เราจะใช้ปัญญาตัวนี้เข้าพิสูจน์เหตุผลของอารมณ์ ในเมื่อจิตประหวัดไปนั้นอย่างเต็มที่โดย ไม่ให้มันเกิดขึ้นมาโดยโดยธรรมชาติเคียวคู่กันโดยลำพัง เพราะฉะนั้น พวกเราจงพากันหาช่องทางสร้างธรรมะตัวที่แท้จริงขึ้นมาเพื่อเป็นการคุ้มกันและพวกเราไม่ ต้องนึกถึงหรอกน่า โอ! อันนี้กิเลส โอ! อันนี้ตัณหา อันนี้มานะ อันนี้ทิฏฐิ อะไรต่างๆเหล่านี้ เราอย่าเอไปจัดสรรและสมมติ ขอให้พวกเราเข้าใจแต่เพียงว่าจะเป็นอะไร ก็ตาม ในเมื่อจิตของเราประหวัดหรือจรไป โดยปราศจากตัวพลังเข้าไปพิสูจน์หรือตัวคุ้มกันนี้แล้ว ถือว่าเป็นการก้าวก่ายของจิตเข้าไปหาภพโดยตรง เราจะหาช่องทางล็อค หรือรั้งไว้โดยกำลังหรือพลังของตปธรรมคือ สติที่เราสร้างขึ้นมานี้ ขอเราจงมีสังกัปปะ คือ ความดำริของพวกเราอย่างนี้ พวกเราจึงจะสามารถหักห้ามหรือจะกางกั้น จิตของพวกเราไม่ให้รั่วไหลเข้าไปสู่ภพโดยปราศจากสิ่งคุ้มครอง เพราะฉะนั้น ขอให้พวกเราทุกท่านจงพากันหาช่องทางอธิษฐานขึ้นในจิตของเราเสีย แล้วพวกเรา จะได้ดำเนินสร้างกำลังชนิดนี้ขึ้นมาให้มาก

          ทีนี้จะเล่าถึงเรื่องการทดสอบ และวิธีพิสูจน์ถึงกำลังของสติที่พวกเราขึ้นมาแล้ว จะเอาเข้าไปประกอบในสิ่งที่พวกเราต้องการนั้นก็พอเข้าใจอยู่แล้ว ทีนี้จะได้อธิบายถึงพวกเรา ผู้ฟังธรรมะ ผู้ดูธรรมะ ผู้อ่านธรรมะ ให้พวกเราได้เข้าใจหน่อย ธรรมะที่แท้จริงก็อย่างที่เล่าสู่ฟังอย่างหนังสือที่ท่านเขียนไว้ เป็นฝอยธรรมะ แต่มิใช่ตัวธรรมะเป็นเพียงฝอย ธรรมะที่แท้จริงอยู่ที่ไหนก็อย่างที่เล่าสู่ฟังนี้เอง พวกเราคงจะเห็นในหลักอภิธรรมในบทมาติกาเบื้องต้นว่า "กุสลาธมฺมา อกุสลาธมฺมา, กุศลธรรม อกุศลธรรม" กุศลธรรมนั้นอยู่ที่ไหน อกุศลธรรมนั้นอยู่ที่ไหน อยู่ที่ความนึกคิดของพวกเรา อยู่ที่การกรทำคำที่พูดของพวกเรา บุคคลที่พูดดี บุคคลที่ทำดี คำที่ว่า "พูดดี" หรือ "ทำดี" นี้คือ การกระทำของพวกเรา ไม่เป็นไปเพื่อการเบียดเบียนบุคคลอื่นหรือสัตว์อื่นให้ได้รับความเดือดร้อน เราผู้พูดผู้ทำ เมื่อเราพูดปละทำลงไปเราไม่ได้รับความเดือดร้อน ความคิดและคำพูดชนิดนี้เรียกว่าเป็นไปในทางกุศลธรรม หรือคำพูดที่หาวิธีอุบายแนะนำบรรดาคณะ ที่แตกร้าวจากกันให้สมานกันขึ้น หรือหมู่คณะที่แตกร้าวกัน หาช่องทางให้เขาล้มเลิกจากการแตกร้าวกันและกันอะไรเหล่านี้ หรือบุคคลผู้ประมาทต่อสมบัติก็ดี หรือบุคคลผู้ประมาทต่อพระธรรมที่จะประพฤติดีปฏิบัติชอบก็ดี เราหาช่องทางให้เขาเห็นคุณค่าของการประพฤติดี ให้เขาเห็นกำลังของกรรมทั้งสองว่า กรรมทั้งสองย่อมจะเข้ามาบั่นทอน ให้เราได้รับความทุกข์อย่างนี้ๆ หาช่องทางแนะนำให้เขาเข้าใจ เมื่อเขาเข้าใจแล้วเขาจะกลัวต่อกรรมชั่วช้า คืออกุศลกรรม ให้เขามีความพอใจในกุศลกรรมและประพฤติดีปฏิบัติชอบ วาจาอย่างนี้แหละเรียกว่า วาจาเป็นไปในทางกุศลกรรม
          ส่วนอกุศลกรรมก็ตรงกันข้ามวาจาที่พูดออกไป สิ่งที่ทำลงไปเป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นและสัตว์อื่นให้ได้รับคความเดือดร้อน ตัวเองที่กระทำหรือพูดลงไปแล้ว เมื่อคิดภายหลังได้รับความเดือดร้อน วาจาและการกระทำอย่างนี้แลเรียกว่า อกุศลกรรม คือบุคคลผู้ทำกรรมชั่ว

ที่พูดมานี้ต้องการอยากจะให้เข้าใจว่าส่วนธรรมทั้งหลายคือ ธรรมชาตินั้นมันอยู่ที่การกระทำ คำที่พูดของพวกเรา ทีนี้พวกเราทุกท่านซึ่งมาบำเพ็ญอย่างที่ พวกเราเข้าใจในอุบายวิธีนี้เพื่อจะได้สังเกตอาการคิด หรือการประหวัดของจิตเรา เมื่อมันคิดและประหวัดไปในทางที่ชั่วมันจะสั่วอาการออกมาเป็นไปในทาง ภายนอก ให้ประกอบตามกระแสที่มันคิดไป เมื่อมันคิดในทางที่ดี มันมองเห็นคุณค่าประโยชน์ในทางที่ดี มันจะสั่งออกมาในทางกายให้ประกอบหรือสั่งออกมาในทาง วาจาให้พูดเป็นไปตามอาการของมัน

          สรุปแล้วได้ใจความว่า กุศลกรรมก็ดี อกุศลกรรมก็ดี ซุ่งธรรมทั้งหลายอยู่ที่พวกเราและการที่จะกระทำดีหรือชั่วมันก็อยู่ที่จิต เมื่อจิตของพวกเราดีเสียอย่างเดียว การพูดก็ดี การกระทำก็ดีเมื่อจิตไม่ดีเสียอย่างเดียว การพูดก็ไม่ดี การกระทำก็ไม่ดี สมมติอย่างบุคลผู้มีรูปสมบัติ คือรูปร่างสะสวยงดงาม แต่ใจไม่ดี ในจังหวะที่เขาจิตใจไม่ดี อาการที่เขาแสดงออกมาไม่ดี ถึงแม้รูปร่างของเขาจะสะสวยก็ตาม เขาย่อมจะลดราคาของเขาลงทันทีเลย นี่พวกเราคงเข้าใจว่า ใจนี้เป็นของสำคัญมาก เพราะเหตุนั้น เมื่อพวกเราเข้าใจว่าใจนี้เป็นของสำคัญแล้ว พวกเราทุกท่านจึงได้หาช่องทางสร้างกำลังตัววยั้บยั้งหรือตัวบริหาร ตัวคุ้มครองตัวพิสูจน์ความจริงในระหว่างจิตใจกับอารมณ์แล้วเพื่อเข้าไปบริหารหรือคุ้มกันหรือพิสูจน์ในเมื่อมันประหวัดไป เราจะได้แต่งจิตแต่งใจของพวกเราให้ จิตใจของพวกเราพอใจในทางที่ดี พอใจในอารมณ์ที่ดี แล้วพยายามทำแต่ในสิ่งที่ดี พูดแต่ในสิ่งที่ดี พวกเราหาช่องทางที่จะดำเนินให้เป็นไปอย่างนี้ พวกเราทุกท่านจึง ได้กล้ายอมเสียสละมาสร้างกำลังของตปธรรมเข้ามาบำรุงจิต หาอุบายวิธีนำอารมณ์ที่ดีมาหล่อเลี้ยงจิต กำจัดอารมณ์ที่ไม่ดีหรือล็อครั้งจิตไว้ไม่ให้ดำเนินประหวัดไป ตามอารมณ์ที่ไม่ดี พวกเราทุกท่านได้ยอมเสียสละหาช่องทางมาดำเนินอย่างนี้

          ในวันนี้ได้อธิบายถึงวิธีการทดสอบสติของพวกเราในการทั้ง 3 ว่า สติของเราที่ได้สร้างสมอบรมมานี้พอที่จะใช้ประโยชน์ได้แค่ไหน อย่างไร ข้อทดสอบนั้น ได้อธิบายสู่ฟังแล้ว ในการที่ทดสอบสติการที่ 1 - 2 - 3 พร้อมทั้งการประหวัดของจิตเข้าไปสู่อารมณ์นั้น มันเป็นการก้าวก่ายเข้ไปสู่มรรคผลบ้าง ก้าวก่ายเข้า ไปสู่อารมณ์สัญญาบ้าง อารมณ์ก็คือความนึกคิด ตามภาษไทยๆ ของพวกเรานี่แหละ มันจะเป็นไปเพื่อภพของที่อยู่นั้น จะเป็นไปเพื่อมรรคผลก็อยู่ที่นั้น จะเป็นไปเพื่อกิเลสตัณหาก็อยู่ที่ความนึกคิด
          เพราะเหตุนั้น พวกเราทุกท่านได้ฟังถึงอุบายวิธีที่จะสร้างพลังของสติเข้าไปทดสอบพิสูจน์หรือคิดค้นในอารมณ์ ในเมื่อจิตของเราประหวัดไปนั้น พวกเราทุกท่านก็ เข้าใจดีแล้ว ขอให้พวกเราจงสร้างกำลังของตปธรรมอย่างที่ขอร้องให้พวกเราสร้างนี้ จงพากันสร้างให้พอแก่ความต้องการ แล้วจะได้เอามายั้บยั้งจิตใจของพวกเรา ไม่ให้เป็นไปตามกำลังของมันโยยธรรมชาติปราศจากสิ่งคุ้มกันและการพิสูจน์ความจริง ในเมื่อมันก้าวก่ายเข้าไปและขอให้พวกเราหาช่องทางดำเนิน ให้จิตของพวกเรา ที่ท่านปรารถนานี้ จงสำเร็จตามมุ่งมาดของพวกเรา อย่าได้ลดละประมาท เมื่อพวกเราหาช่องทางดำเนินจนจิตที่เราปรารถนาไว้นี้สำเร็จตามที่เราตั้งปณิธานปรารถนาแล้ว พวกเราทุกท่านจะได้มีความสุขเกษมศานติ์ ปราศจากความทุกข์ ขอให้พวกเราทุกท่าน จงพยายามอยู่ทุกเมื่อ ที่อาตมาภาพได้อธิบายมาก็ยืดยาวพอสมควร จึงขอยุติเพียงแค่นี้.